บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
โดย : วีราภรณ์ คำศรี
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา : การบริหารบริการสุขภาพ
อาจารย์ที่ปรึกษา : สมชาย สินชัยสุข
คำสำคัญ : แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข
   
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษา แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งจากการประเมินการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยการประเมินตนเอง และจากการประเมินการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามมุมมองของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 332 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และผ่านการทดลองใช้ที่ค่าความเชื่อมั่น 0.78 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยส่งแบบสอบถามให้อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นผู้ตอบแบบสอบถามเอง แล้วจึงเก็บคืนมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะทางประชากร ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย สถิติที (t-test) สถิติเอฟ (one-way ANOWA)และ หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.16 อายุเฉลี่ย 38.11 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 74.39 สถานภาพสมรส ร้อยละ 93.98 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 89.76 รายได้ต่อเดือนส่วนมาก น้อยกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 87.35 ระยะเวลาที่เป็นอาสาสมัครโดยเฉลี่ยเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมาแล้ว 5.76 ปี โดยเฉลี่ยรับผิดชอบ 10.55 หลังคาเรือน บทบาทหน้าที่อื่นในชุมชน ส่วนมากไม่มีบทบาทอื่นใด ร้อยละ 49.70 มีแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.55) ค่าเฉลี่ยระดับแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจไม่มีความแตกต่างกัน (p>.05) ตามปัจจัย เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ต่อเดือน จำนวนหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ บทบาทหน้าที่อื่นในชุมชน และการได้รับการฝึกอบรม ยกเว้น ระยะเวลาที่เป็นอาสาสมัคร โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานมาระหว่าง 1-5 ปี (p=.018) และ 11 ปี ขึ้นไป (p=.019) จะมีระดับแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจสูงกว่ากลุ่มที่ปฏิบัติงานมาระหว่าง 6-10 ปี ระดับแรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.63) ค่าเฉลี่ยระดับแรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุนไม่มีความแตกต่างกัน (p>.05) ตามปัจจัย อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่เป็นอาสาสมัคร จำนวนหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ บทบาทหน้าที่อื่นในชุมชน ยกเว้น เพศ โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นเพศหญิง จะมีระดับแรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุนมากกว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นเพศชาย (p=.04) และอาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ผ่านการอบรม 5 ครั้งขึ้นไปจะมีระดับแรงจูงใจด้านปัจจัยค้ำจุนมากกว่ากลุ่มที่อบรมไม่เกิน 1-2 ครั้ง (p=.01) และที่ไม่ได้รับการอบรม (p=.01) การปฏิบัติงาน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยการประเมินตนเองในภาพรวมโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.26) การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยการประเมินตนเอง ไม่มีความแตกต่างกัน (p>.05) ตามปัจจัย เพศ อายุ ระดับการศึกษาสถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่เป็นอาสาสมัคร จำนวนหลังคาเรือนที่รับผิดชอบ บทบาทหน้าที่อื่นในชุมชน การได้รับการอบรม ส่วน การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามมุมมองของเจ้าหน้าที่ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.65) การปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามมุมมองของเจ้าหน้าที่ ไม่แตกต่างกัน (p>.05) ตามปัจจัย อายุ สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาที่เป็นอาสาสมัคร บทบาทอื่นในชุมชนและการได้รับการอบรม ยกเว้น เพศ โดย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นเพศหญิง จะมีการปฏิบัติงานได้ดีกว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เป็นเพศชาย (p=.03) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจะมีการปฏิบัติงานได้ดีกว่าอาสามัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา (p=.003) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบ 10-12 หลังคาเรือน จะมีการปฏิบัติงานได้ดีกว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบ 8-9 หลังคาเรือน (p=.007) ปัจจัยจูงใจมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานตามมุมมองของ อสม. (r = 0.382, p=.001) และมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการปฏิบัติงานของ อสม. ตามมุมมองของเจ้าหน้าที่ (r = 0.165, p=.003) และ ปัจจัยค้ำจุนมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับปัจจัยการปฏิบัติงานตามมุมมองของ อสม. (r = 0.404, p=.001) และมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับการปฏิบัติงานตามมุมมองของเจ้าหน้าที่ (r=0.148, p=.007) ผลจากการวิจัยครั้งนี้ เห็นควรให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษารูปแบบหรือกระบวนการในการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข มีความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานในบทบาทของอาสาสมัคร และมีขวัญกำลังใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ต่อไป
   
ปิดหน้าต่างนี้