บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อน้ำหนักที่ต่ำกว่าปกติของทารกแรกเกิดณ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
โดย : เยาวภา เจษฎาพรพันธุ์
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา : การบริหารบริการสุขภาพ
อาจารย์ที่ปรึกษา : น้องเล็ก บุญจูง
คำสำคัญ : น้ำหนักต่ำกว่าปกติ ทารกแรกเกิด
   
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ (Case-control study) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อน้ำหนักที่ต่ำกว่าปกติของทารกแรกเกิด ทำการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และใช้แบบบันทึกข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักปกติและน้ำหนักต่ำกว่าปกติในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างเดือน มีนาคม - กรกฎาคม 2548 โดยกำหนดสัดส่วน Case: Control ในอัตรา 1 : 4 คือมารดาที่คลอดทารกน้ำหนักต่ำกว่าปกติและน้ำหนักปกติ จำนวน 200 และ 800 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไค-สแควร์ (2) และความถดถอยแบบโลจิสติค (logistic regression) จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อน้ำหนักทารกแรกคลอดต่ำกว่าปกติ (p-value <0.05 และ <0.01) ได้แก่ อายุ อาชีพ ความสูงของมารดา น้ำหนักของมารดาที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด การมีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ประเภทของการตั้งครรภ์ (ครรภ์เดี่ยว กับครรภ์แฝด) และการฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งคุณภาพของมารดา โดยปัจจัยที่สามารถใช้ทำนายน้ำหนักของทารกแรกเกิดได้ (p-value <0.01) ประกอบด้วย 1) น้ำหนักของมารดาที่เพิ่มขึ้น 2) ลำดับการตั้งครรภ์ 3) ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด 4) จำนวนการแท้งบุตร 5) ระดับฮีโมโกลบิน 6) ประเภทของการตั้งครรภ์ 7) การมีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ 8) ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ และ 9) การฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งคุณภาพ ดังสมการ ŵ = 92.305 – (1.502*การฝากครรภ์ครบ 4 ครั้ง) + (0.214*น้ำหนักมารดาที่เพิ่มขึ้น) + (0.494*ลำดับที่ของการตั้งครรภ์) - (0.789*จำนวนครั้งที่เคยแท้งบุตร) + (0.306 *ระดับฮีโมโกลบิน) + (1.698*ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์) + (3.453*ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด) + (2.858 *การมีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์) – (2.551*การตั้งครรภ์แฝด) นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของ Odd ratio ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น 95 % คือ การฝากครรภ์ครบ 4 ครั้งคุณภาพ จำนวนครั้งที่เคยแท้งบุตรและการตั้งครรภ์แฝด
   
ปิดหน้าต่างนี้