บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาตำรับยาฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบโปรนิโอโซมเพื่อเพิ่มการซึมผ่านทางรูขุมขน
โดย : ภณิกชา วิชยปรีชา
ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา : เภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
อาจารย์ที่ปรึกษา : วันดี รังสีวิจิตรประภา
คำสำคัญ : โปรนิโอโซม ฟีนาสเตอไรด์ การตอบสนองพื้นผิว การซึมผ่านทางรูขุมขน การระคายเคืองผิว
   
ฟีนาสเตอไรด์เป็นยาที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้ใช้รับประทานเพื่อรักษาภาวะผมร่วงในเพศชาย ปัจจุบันเป็นยาเม็ดที่ใช้ ในการรับประทานและมีรายงานผลข้างเคียงจากการใช้ยาคือท าให้ความต้องทางเพศลดลงและท าให้เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การใช้ยาฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบของโปรนิโอโซม โดยซึมผ่านทาง รูขุมขนสามารถช่วยลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต ารับ ฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมเพื่อกระตุ้นการเจริญของเส้นขน การเตรียมต ารับฟีนาสเตอไรด์เตรียมด้วยวิธีโคอะเซอร์เวชันแบบแยกวัตภาค โดยการหาสภาวะที่เหมาะสมด้วยการออกแบบการทดลองด้วยวิธีตอบสนองพื้นผิวร่วมกับการออกแบบส่วนผสมกลางพบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่ใช้ ในการเตรียมต ารับคือความเข้มข้นของคอเรสเตอรอลเท่ากับร้อยละ 39.03 ไขมันทั้งหมดในต ารับเท่ากับ 20.26 mM และความเข้มข้นฟีนาสเตอไรด์เท่ากับ 3.39 mM ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมนี้จะให้ร้อยละการกักเก็บยาเท่ากับ 94.47 ± 1.67 ร้อยละการบรรจุยาเท่ากับ 13.14 ± 0.18 และมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 292 ± 0.85 nm เมื่อเก็บต ารับภายใต้สภาวะควบคุมที่อุณหภูมิ 4 ºC 25 ºC 75%RH และ 40 ºC 75% RH พบว่า ขนาดอนุภาคและค่าประจุไฟฟ้าที่ผิวอนุภาคของระบบไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 4 เดือน ร้อยละการกักเก็บยาและร้อยละการบรรจุยาที่อุณหภูมิ 25 ºC 75%RH มีค่าเป็น 86.69 ± 1.04 และ 12.70 ± 0.08 ตามล าดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าที่อุณหภูมิ 4 ºC และ 40 ºC 75% RH การศึกษาการปลดปล่อยฟีนาสเตอไรด์ด้วยเทคนิคไดอะไลซิสพบว่า การปลดปล่อยฟีนาสเตอไรด์ ออกจากโปรนิโอโซมเป็นแบบการออกฤทธิ์เนิ่น การศึกษาการซึมผ่านชั้นผิวหนังของฟีนาสเตอไรด์ด้วยเทคนิค Franz diffusion cell พบว่า ที่เวลา 24 ชั่วโมง ต ารับฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมและสารละลายฟีนาสเตอไรด์พบว่า ปริมาณฟีนาสเตอไรด์ในสารละลายตัวกลางเท่ากับ 5.26 ± 1.85 μg/cm2 และ 2.51 ± 0.45 μg/cm2 ตามล าดับ การศึกษาการซึมผ่านทางรูขุมขนของฟีนาสเตอไรด์ โปรนิโอโซมเทียบกับสารละลายฟีนาสเตอไรด์พบว่า ปริมาณฟีนาสเตอไรด์ที่ซึมผ่านทางรูขุมขนเท่ากับ 2.43 ± 0.63 μg/cm2 และ 0.67 ± 0.91 μg/cm2 ตามล าดับ ส าหรับการศึกษาประสิทธิภาพ การเจริญของเส้นขนในหนูสายพันธุ์ C57BL/6Mlac พบว่า ร้อยละ 1 ของฟีนาสเตอไรด์ โปรนิโอโซมมีประสิทธิภาพเทียบเท่าร้อยละ 2 ของสารละลายไมนอกซิดิลและร้อยละ 1 ของ ฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมเพิ่มการเจริญของเส้นขนหนูได้มากกว่าร้อยละ 1 ของสารละลาย ฟีนาสเตอไรด์ การศึกษาเนื้อเยื่อของผิวหนังจะประเมินวงจรชีวิตของเส้นขนหลังจากทาสารทดสอบพบว่า ฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมและสารละลายไมนอกซิดิลเพิ่มจ านวนและขนาดของรูขุมขนได้เทียบเท่ากันอย่างมีนัยส าคัญและฟีนาสเตอไรด์โปรนิโอโซมมีจ านวนรูขุมขนแตกต่างจากสารละลายฟีนาสเตอไรด์อย่างมีนัยส าคัญ การศึกษาการระคายเคืองผิวในกระต่ายพบว่า มีค่า การระคายเคืองผิวเป็นศูนย์ ดังนั้นการพัฒนาต ารับยาฟีนาสเตอไรด์ในรูปแบบโปรนิโอโซมเพื่อเพิ่มการซึมผ่านทางรูขุมขนเพื่อใช้ในการรักษาภาวะผมร่วงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีความน่าสนใจในการรักษาภาวะผมร่วงและสามารถลดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้
   
ปิดหน้าต่างนี้