บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การเคลือบเม็ดแกรนูลของยาคลอร์เฟนิรามีนให้มีการปลดปล่อยตัวยาแบบออกฤทธิ์เนิ่นด้วยเครื่องฟลูอิดเบดแกรนูเลเตอร์
โดย : อิทธิพล เจรจา นิรันดร์ กันหาวัฒน์ ณัฐพงษ์ สมบัติพล
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : เบญจภรณ์ เศรษฐบุปผา ชลลัดดา พิชญาจิตติพงษ์
คำสำคัญ : คลอร์เฟนิรามีน มาเลท, ฟลูอิดเบดแกรนูลเลเตอร์, ไฮดรอกซีโพลเมทิล เซลลูโลส
   
คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต เป็นยาต้านฮิสตามีน ใช้สำหรับบรรเทาอาการแพ้ ลดน้ำมูก ซึ่งรับประทานวันละ 3 ครั้ง วัตถุประสงค์= เพื่อพัฒนาตำรับยาคลอร์เฟนิรามีนให้ออกฤทธิ์เนิ่น โดยใช้เครื่องฟลูอิดเบดแกรนูเลเตอร์  วัสดุและวิธีดำเนินการวิจัย=ในการวิจัยครั้งนี้ได้มีการศึกษาถึงความแตกต่างของโพลิเมอร์ที่ใช้เคลือบแกรนูล ของคลอเฟนิรามีน คือ ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส และ เอทิลเซลลูโลสร่วมกับปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เครื่อง ฟลูอิเบดแกรนูเลเตอร์ ได้แก่ อุณหภูมิของลมเข้า, เวลาในการเคลือบและเวลาในการทำแห้ง โดยเปรียบเทียบระหว่าง ไฮดรอกซีโพรพิลเมทิลเซลลูโลส ร้อยละ10 ผสมกับ ไดเอทิลทาเลต ร้อยละ 2(HPMC10=DTL2) เปรียบเทียบกับ เอทิลเซลลูโลสร้อยละ 5(EC5)โดยมีพารามิเตอร์ที่ใช้ประเมิน ได้แก่ ปริมาณความชื้น , มุมในการกองพื้น, และวัดการปลดปล่อยของตัวยาที่เวลา 1ชั่วโมง , 3ชั่วโมง และ 7 ชั่วโมง ตามลำดับ  ผลของการทดลอง = พบว่าความชื้นของทั้งสองตำรับมีค่าน้อยกว่าร้อยละ 2มุมกองพื้นตำรับ HPMC10=DTL2และ EC5สามารถเพิ่มการไหลของตัวยาคลอร์เฟนิรามีนโดยมีมุมกองพื้นลดลงจาก 44.47° เหลือเพียง 20.96°และ 31.35°ตามลำดับ การปลดปล่อยตัวยาของ HPMC10 = DTL2 และ EC5ไม่แตกต่างกัน แต่แกรนูลที่เคลือบด้วยเอทิลเซลลูโลสมีแนวโน้มที่จะปลดปล่อยตัวยาให้เป็นแบบออกฤทธิ์เนิ่นได้ดีกว่าแกรนูลที่เคลือบด้วย HPMC10=DTL2ดังนั้นควรทดลองเพิ่มปริมาณของเอทิลเซลลูโลสเพื่อทำให้ตำรับสามารถออกฤทธิ์เนิ่นได้
   
ปิดหน้าต่างนี้