บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาความคงตัวทางเคมีและกายภาพของตำรับยาตาเซฟาโซลินสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายที่เตรียมจากน้ำตาเทียมที่มีชนิดของสารถนอมแตกต่างกัน
โดย : ธนิศา บูชารัมย์ อิสรา กุนโท
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : อุษณา พัวเพิ่มพูลศิริ วริษฎา ศิลาอ่อน ทรงพร จึงมั่นคง
คำสำคัญ : ความคงตัว เซฟาโซลิน ยาตาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย น้ำตาเทียม สารถนอม
   
ปัญหาความคงตัวของตำรับยาหยอดตาเซฟาโซลินสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายที่เตรียมในโรงพยาบาล คือ อายุการใช้งานสั้นเพียง 7 วัน และมีการเปลี่ยนชนิดของน้ำตาเทียมที่ใช้เตรียม ดังนั้น การศึกษาผลของสารถนอมจากน้ำตาเทียมต่อการเปลี่ยนแปลงความคงตัวทางเคมีและกายภาพของตำรับ จึงมีประโยชน์เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคัดเลือกน้ำตาเทียมสำหรับโรงพยาบาล วัตถุประสงค์= เพื่อศึกษาความคงตัวทางเคมีและกายภาพของสูตรตำรับยาหยอดตาเซฟาโซลินในน้ำตาเทียมที่มีชนิดของสารถนอมแตกต่างกัน วัสดุและวิธีดำเนินการวิจัย= ตำรับยาหยอดตาเซฟาโซลินเตรียมโดยละลายผงยาฉีดเซฟาโซลินโซเดียมให้ได้ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ด้วยน้ำปราศจากเชื้อ และปรับปริมาตรด้วยน้ำตาเทียม 3 ชนิด ได้แก่ Lac-oph® (สูตรที่ 1 สารถนอมเป็นเบนซาลโคเนียมคลอไรด์), Opsil tears®(สูตรที่ 2 สารถนอมเป็นเบนซาลโคเนียมคลอไรด์) และ Natear®(สูตรที่ 3 สารถนอมเป็นโซเดียมเปอร์บอเรต) ตามลำดับเก็บที่อุณหภูมิอุณหภูมิ 4 oCและ 30oC สุ่มตัวอย่าง ทุกวันที่ 0, 7, 14 และ 28 เพื่อวิเคราะห์ความคงตัวทางเคมีโดยวิธีโครมาโตกราฟฟีของเหลวสมรรรถนะสูง และวิเคราะห์ความคงตัวทางกายภาพ เช่น ความเป็นกรด ด่าง,สี และกลิ่น ผลการวิจัย= พบว่าคุณสมบัติทางกายภาพด้าน ความเป็นกรด ด่าง สีและกลิ่น ให้ผลดังนี้ เมื่อเวลาผ่านไป 21 วันพบว่าอุณหภูมิในการเก็บมีผลต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด ด่าง แต่ค่าความเป็นกรดด่างไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05, unpaired t-test) การเปลี่ยนแปลงสีของตำรับมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงกลิ่นของตำรับ โดยสีของสารละลายเริ่มมีการเปลี่ยนจากสารละลายใสไม่มีสีเป็นสีเหลืองในวันที่ 7 ของการเก็บในอุณหภูมิ 30oC และพบว่ามีความเข้มของสีเพิ่มขึ้นจากเหลืองเป็นเหลืองส้มถึงน้ำตาลเมื่อเพิ่มระยะเวลาของการเก็บ ที่อุณหภูมิ 4 oC สูตร 1 และ 2 ของการเก็บ เริ่มสังเกตพบการเปลี่ยนแปลงของสีของตำรับเล็กน้อย ในวันที่ 14 ด้านความคงตัวทางเคมี พบว่าอุณหภูมิมีผลต่อความคงตัวทางเคมีของยาเนื่องจากที่อุณหภูมิ 30 oC ร้อยละของปริมาณยาคงเหลือของสูตรที่ 1, 2 และ 3 ในวันที่ 14 เท่ากับ 83.00 ± 0.57, 84.98 ± 8.09 และ 79.69 ± 0.85 เปอร์เซ็นต์ซึ่งไม่อยู่ในช่วงที่ เภสัชตำรับกำหนด (89.06 -108.83 เปอร์เซ็นต์) ดังนั้นสรุปได้ว่า อุณหภูมิ ระยะเวลาในการเก็บมีผลต่อความคงตัวของยาทั้งทางเคมีและกายภาพ และสารถนอมที่เหมาะสมในการนำมาเตรียมยาหยอดตาเซฟาโซลินสำหรับผู้ป่วยเฉพาะรายคือ Natear®เนื่องจากมีความคงตัวทางเคมีและกายภาพดีที่สุด อย่างไรก็ตามในการศึกษาต่อไปควรทำการศึกษาความคงตัวทางชีวภาพของตำรับต่อไป
   
ปิดหน้าต่างนี้