บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การทดสอบเบื้องต้นถึงผลของสารสกัดสมุนไพรผักหวานและสมุนไพรอื่นๆอีก 3 ชนิด ต่อการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 จากตับหนูในหลอดทดลอง
โดย : ชนิสรา บูรณ์เจริญ ปิติกาญจน์ เจียบเกาะ ศิราพร สิทธิรัมย์
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : เบญจภรณ์ เศรษฐบุปผา สุทธาสินี สุวรรณกุล
คำสำคัญ : อันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยา ไซโตโครมพี ,450, CYP3A4, ผักหวาน,กะเพรา, ตำลึง, ย่านาง
   
ปัจจุบันการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพได้รับการยอมรับและนิยมอย่างแพร่หลาย โดยพบว่าบางส่วนมีการใช้สมุนไพรแบบเดี่ยวๆและบางส่วนมีการใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรขึ้นได้ โดยผ่านกลไกการยับยั้งผ่านการทำงานของเอนไซม์ไซโตโครมพี 450 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลเบื้องต้นของสารผักหวานและสมุนไพรอีก 3 ชนิดต่อการทำงานของเอนไซม์ ไซโตโครมพี 450 ที่มีในไมโครโซมจากตับหนูโดยเน้นที่ CYP3A4 ในหลอดทดลอง โดยศึกษาจากปฏิกิริยา 6-beta-Testosterone (6-TST) ซึ่งเป็นเมตาบอไลท์ที่เกิดขึ้น เปรียบเทียบกับปริมาณ 6-TSTระหว่างการใส่กับไม่ใส่ส่วนสกัดสมุนไพรในแอลกอฮอล์ วิเคราะห์หาปริมาณ 6-TSTด้วยเทคนิค High Performance Liquid Chromatography (HPLC) จากนั้นคำนวณเป็นร้อยละของการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ผลการทดลองพบว่าส่วนสกัดแอลกอฮอล์ของสมุนไพรทั้ง 4 มีการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4ที่แตกต่างกัน คือ ผักหวาน (Sauropus androgynus (L.) Merr.) ร้อยละ 7.56%,กะเพรา (Ocimum sanctum L.) ร้อยละ57.91%, ตำลึง (Coccinia grandis(L.) Voigt.) ร้อยละ0.95%, ย่านาง (Tiliacora triandra Diels.) ร้อยละ1.05% สรุปได้ว่าสมุนไพรทุกตัวที่นำมาทำการทดสอบมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ที่มีในตับหนูเมื่อทดสอบในหลอดทดลองด้วยระดับการยับยั้งที่แตกต่างกัน
   
ปิดหน้าต่างนี้