บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยในคลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
โดย : สหรัฐ คุ้มไกรสร พรพิตรา ชิณจักร์ สุภัทรา พุ่มประเสริฐ
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : แสวง วัชระธนกิจ
คำสำคัญ : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อัตราการกำเริบของโรค
   
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD (Chronic obstructive pulmonary disease) เป็นโรคที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆไม่สามารถที่จะรักษาให้กลับมาเป็นปกติหรือหายขาดได้ ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการรักษาจึงเน้นที่การปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโรคเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มมากขึ้น คงสภาวะของปอดให้เสื่อมช้าลงและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น วัตถุประสงค์= เพื่อประเมินผลลัพธ์จากการดูแลผู้ป่วย ศึกษาความเหมาะสมของการรักษาตามระดับความรุนแรงของโรค และศึกษาอัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากอาการกำเริบหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในคลินิกผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี วัสดุและวิธีดำเนินการวิจัย= งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ Retrospective cohort study กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกผู้ป่วยโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 จำนวน 69คน เก็บข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางคลินิกจาก OPD card และฐานข้อมูลโปรแกรมHomC ผลการวิจัย= จากการติดตามผู้ป่วยแต่ละรายจำนวน 6 ครั้งในระยะเวลา 1 ปี พบว่ามีข้อมูลที่สามารถประเมินได้ 51 จาก 414 ครั้ง (ร้อยละ 12.3)โดยการรับบริการของคลินิกครั้งที่ 1ผู้ป่วยจำนวน 17 คนที่มีข้อมูลสมบูรณ์ในการประเมินการรักษาซึ่งผู้ป่วยร้อยละ 88.23ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตามระดับความรุนแรงของโรคและมีความเหมาะสมของการรักษาตามระดับความรุนแรงในการรับบริการครั้งที่ 2 ถึง 6 ร้อยละ 50 100 92 87.5 และ 87.5 ตามลำดับและพบว่าผู้ป่วยมีจำนวนครั้งของการกำเริบของโรคลดลงหลังจากเข้าคลินิกจาก0.99 ครั้ง/คน/ปีเป็น0.61 ครั้ง/คน/ปี สรุปผล= การดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกลั้นเรื้อรังในคลินิกผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ให้ผลลัพธ์จากการดูแลรักษาที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามถือได้ว่าโรงพยาบาลมีการเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินความเหมาะสมในการรักษาตามระดับความรุนแรงของโรคตามเวชปฏิบัติGOLD 2011น้อยมากซึ่งอาจจะเกิดจากช่วงที่ทำการศึกษาโรงพยาบาลอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาระบบการเก็บข้อมูล
   
ปิดหน้าต่างนี้