บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : อัตรากำลังเภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนในการตรวจประเมิน Good Manufacturing Practice (GMP) จังหวัดอุบลราชธานี
โดย : วรชัย ราชประโคน วีระกร ศรีจันทร์ อดุลย์ศักดิ์ ชิณบุตร
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : แสวง วัชระธนกิจ รุ่งนภา กงวงษ์
คำสำคัญ : เวลามาตรฐานการทำงาน อัตรากำลัง คุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลชุมชน
   
เภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนมีภาระงานมาก เนื่องจากมีหน้าที่ในงานบริการของโรงพยาบาล และยังมีหน้าที่รับผิดชอบงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการตรวจรับรองมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติที่ดี (Good manufacturing practice หรือ GMP) ของโรงงานผลิตสินค้าบริโภคในระยะก่อนและหลังจำหน่ายสินค้า วัตถุประสงค์= เพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงานด้านการตรวจมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติที่ดีของโรงงาน เพื่อกำหนดอัตรากำลังของเภสัชกร วิธีดำเนินการวิจัย= การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลเวลาการทำงานโดยการกำหนดเวลาจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinion standard) โดยแบ่งการทำงานเป็นขั้นตอนย่อยต่าง ๆ กลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกรโรงพยาบาลชุมชนที่ทำงานคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 5 คน จาก 5 อำเภอในจังหวัดอุบลราชธานีคือ โรงพยาบาล 50 พรรษาฯ โรงพยาบาลวารินชำราบ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม โรงพยาบาลตระการพืชผล และโรงพยาบาลเขมราฐโดยมีข้อตกลงเบื้องต้น คือ เภสัชกรทำงาน 230 วัน/ปี ผลการวิจัย= เวลามาตรฐานเฉลี่ย 1 อำเภอของงาน Pre marketing และงาน Post marketing คือ 25.83 และ 35.33 ชั่วโมงตามลำดับเมื่อนำเวลามาตรฐานมาคำนวณหาอัตรากำลังโดยคิดเวลาทำงาน 2 วันต่อสัปดาห์ มีค่าเท่ากับ 5.85 1.63 1.60 0.74 0.39 คน ตามลำดับ สรุป= จำนวนเภสัชกรที่ทำงานเต็มเวลาในงานตรวจรับรองมาตรฐานแนวทางการปฏิบัติที่ดีเท่ากับ 5.85 1.63 1.60 0.74 0.39 คน ตามลำดับ
   
ปิดหน้าต่างนี้