บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : อุบัติการณ์การเกิด Cross Adverse Drug Reaction ของยาในกลุ่ม β-lactams ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2554 – พ.ศ. 2555
โดย : จิตรสินี อภัยจิตร พิชญารัตน์ วรรณวุฒิกุล
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : แสวง วัชระธนกิจ
คำสำคัญ : เบต้า-แลคแทม, เพนิซิลลิน, เซฟาโลสปอริน, คาร์บาพีเนม, การแพ้ข้ามกัน
   
การป้องกันการแพ้ข้ามกันเป็นหน้าที่ของเภสัชกรในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม ยาในกลุ่ม β-lactams เป็นยากลุ่มหนึ่งที่เกิดการแพ้ข้ามกันได้มาก วัตถุประสงค์=เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การเกิดการแพ้ยาข้ามกันของยาในกลุ่ม β-lactamsณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2554–พ.ศ. 2555 วิธีการดำเนินงาน=ศึกษาข้อมูลย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลโปรแกรมการจ่ายยาผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่มีประวัติแพ้ยาในกลุ่ม β-lactamsแบบ Active case ระหว่างปี พ.ศ. 2554–พ.ศ. 2555 แล้วย้อนกลับไปค้นหาผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ยาในกลุ่ม β-lactamsทั้งแบบ Active caseและแบบให้ประวัติแพ้ยาในระหว่างปี พ.ศ. 2544–พ.ศ. 2555 วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ผลการศึกษา= พบว่าระหว่างปี พ.ศ. 2554–พ.ศ. 2555 ผู้ป่วยหญิงเกิดการแพ้ยากลุ่ม β-lactamsแบบ Active case มากกว่าผู้ป่วยชายช่วงอายุที่เกิดมากที่สุด คือ 41-50 ปี โดยมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 698 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยใน598รายและผู้ป่วยนอก100 ราย ผู้ป่วยที่มีประวัติเกิดการแพ้ยาในกลุ่ม β-lactamsในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 10 ปี มีทั้งสิ้น 34 ราย ซึ่งผู้ป่วยเกิดการแพ้ยาแบบ Active case มากกว่าแบบให้ประวัติแพ้ยา โดยปี พ.ศ. 2554 เป็นปีที่ผู้ป่วยมีประวัติในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 10 ปีมากที่สุด คือ 19 ราย สรุปผล=อุบัติการณ์การเกิดการแพ้ยาข้ามกันของยากลุ่ม β-lactams ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ระหว่างปี พ.ศ.2554–พ.ศ. 2555 เกิดขึ้นในอัตราที่สูง คือ ร้อยละ 4.87 โดยพบว่าเกิดการแพ้ยาข้ามกันระหว่างยาCephalosporinsกับยา Carbapenems สูงที่สุด
   
ปิดหน้าต่างนี้