บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาภาวะน้ำหนักเพิ่มในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ใช้ยา Antipsychotic drugs โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์, อุบลราชธานี
โดย : ธัญลักษณ์ จตุรโกมล ปนัดดา สงวนเรือง สุภาพร เผ่าเพ็ง
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : น้องเล็ก คุณวราดิศัย
คำสำคัญ : ภาวะน้ำหนักเพิ่ม, Risperidone, Clozapine, Olanzapine, Quetiapine
   
ยาต้านโรคจิตโดยเฉพาะยากลุ่มใหม่ซึ่งใช้ในการรักษาโรคทางจิตเวช มีรายงายถึงแนวโน้มการทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่ภาวะน้ำหนักเกินและการเกิดเมตาโบลิคซินโดรมวัตถุประสงค์= เพื่อศึกษาความชุกของภาวะน้ำหนักเพิ่ม ในผู้ป่วยที่ได้รับยา Risperidone,Clozapine, Olanzapine และ Quetiapine และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเพิ่ม วิธีการศึกษา= การศึกษาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลที่โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงเดือน กรกฏาคม2556 ถึงเดือนตุลาคม 2556 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและได้รับยา risperidone, clozapine, olanzapine หรือ quetiapine ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ได้แก่น้ำหนัก เริ่มต้นก่อนใช้ยา หลังรับประทานยาเป็นเวลา 4,8 และ 12 สัปดาห์ โดยภาวะน้ำหนักเพิ่ม (Significant weight gain) หมายถึง น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 7% จำกัดความโดย FDA วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา สถิติไคว์สแควร์ANOVA รวมถึง pair-t-testผลการศึกษา= กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 206 คน เป็นชาย 113 คนและหญิง 93 คน ได้รับยา risperidone134 คน (ร้อยละ 65.0)clozapine 56 คน (ร้อยละ27.2)olanzapine8 คน (ร้อยละ 3.9) และ quetiapine จำนวน 8 คน (ร้อยละ 3.9) พบความชุกภาวะน้ำหนักเพิ่มตั้งแต่ 7% ในผู้ป่วยที่ได้ risperidone, clozapine, olanzapineและquetiapineในสัปดาห์ที่ 4 เท่ากับร้อยละ 24.5, 31.4, 33.3 และ 0 ตามลำดับ ในสัปดาห์ที่ 8 เท่ากับร้อยละ 22.8, 33.3, 33.3 และ12.5 ตามลำดับและในสัปดาห์ที่ 12 เท่ากับร้อยละ 28.2, 46.2, 40.0 และ0 ตามลำดับ และภาวการณ์เปลี่ยนแปลงน้ำหนักคิดเป็นน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับน้ำหนักเริ่มต้น ในสัปดาห์ที่ 4 คือ 1.9, 2.8, 3.5 และ 2.0 กิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value = 0.353) ในสัปดาห์ที่ 8 คือ 1.6,3.2,2.7 และ1.1 กิโลกรัม ตามลำดับ และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p value = 0.164) ในสัปดาห์ที่ 12 คือ 1.8, 4.5, 4.2 และ1.5 กิโลกรัมตามลำดับ โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา risperidone มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มที่รับยา clozapine อย่างมีนัยสำคัญ (p-value =0.007) ในส่วนของปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเพิ่ม พบว่ามีเพียงอายุและอาชีพเท่านั้นที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักในผู้ป่วยที่รับยา risperidone (p-value <0.05)สรุปผลการศึกษา= จากผลการศึกษาแสดงความชุกของภาวะน้ำหนักเพิ่ม ในสัปดาห์ที่ 12 พบเรียงจากมากไปน้อย ในผู้ป่วยที่ได้รับ clozapine, olanzapine และ risperidone ตามลำดับ ส่วน quetiapine ไม่พบภาวะน้ำหนักเพิ่ม และ ค่าเฉลี่ยน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงในสัปดาห์ที่ 12 เมื่อเทียบกับน้ำหนักเริ่มต้น จากมากไปน้อย คือ clozapine, olanzapine, risperidone และ quetiapine ตามลำดับ
   
ปิดหน้าต่างนี้