บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนายาเม็ดแตกตัวในช่องปากโดยเทคนิคการระเหิดด้วยคลื่นไมโครเวฟ

โดย : ภานุพงศ์ บัวแก้ว และ ศิวัสม์ สาระ

ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.วริษฎา ศิลาอ่อน ผศ.ดร.อุษณา พัวเพิ่มพูนศิริ ดร.สุรีวัลย์ ดวงจิตต์ 

คำสำคัญ : ยาเม็ดแตกตัวในช่องปาก สารระเหิดได้ รังสีไมโครเวฟ

   

ชื่อเรื่อง                           : ผลของน้ำมันและสารลดแรงตึงผิวต่อระบบไมโครอิมัลชันที่บรรจุสารสกัดผักเสี้ยน

โดย                     : นางสาวเมธาวี ลับลิพล และ นางสาวอมรรัตน์  โคตรปัญญา

ชื่อปริญญา           : เภสัชศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชา                : เภสัชศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษา   :        1. ผศ.ดร.อุษณา               พัวเพิ่มพูลศิริ

                            2. ผศ.ดร.วริษฎา          ศิลาอ่อน

                            3. ดร.ไพจิตร              ศรีธนานุวัฒน์

ศัพท์สำคัญ             : ไมโครอิมัลชัน ,แผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม,สารสกัดน้ำมันผักเสี้ยนผี

จากงานวิจัยพบว่าสารสกัดผักเสี้ยนผี (Cleome viscosa) สามารถต้านการอักเสบได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรไมโครอิมัลชันเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ โดยศึกษาองค์ประกอบของไมโครอิมัลชันจากแผนภาพวัฏภาคไตรภาคเทียม ศึกษาผลของปริมาณและชนิดของน้ำมันได้แก่ น้ำมันจากเมล็ดทานตะวัน, น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย, medium chain triglyceride (MCT) และoleic acidและ ศึกษาผลของอัตราส่วนของสารลดแรงตึงผิวและสารลดแรงตึงผิวร่วม 2 ชนิด ได้แก่ Tween 80Ò และ Span 20Ò อัตราส่วน1:1, 1:2 และ 2:1 โดยพิจารณาคุณลักษณะทางกายภาพด้านขนาดของอนุภาค การนำไฟฟ้า ความใส ความหนืด และดัชนีการหักเหแสง จากการศึกษาพบว่าสารลดแรงตึงผิวที่ก่อให้เกิดไมโครอิมัลชันได้คือ Tween 80Ò และระบบที่ทำให้เกิดบริเวณไมโครอิมัลชันมากที่สุดคือระบบน้ำมัน MCT ที่ใช้ Tween 80Ò : Span 20Ò ในอัตราส่วน 2: 1 โดยเกิดเป็นอิมัลชันชนิดน้ำในน้ำมันและมีเปอร์เซ็นแสงส่องผ่านคือ 95-102 %  จากการศึกษายังพบว่าชนิดของสารลดแรงตึงผิวทำให้เกิดอิมัลชันที่มีความหนืดต่างกัน โดย Tween 80Ò จะทำให้เกิดอิมัลชันที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความหนืดอยู่ระหว่าง 254,000-1,600 และเมื่อลดปริมาณลง ค่าสัมประสิทธิ์ความหนืดจะลดลงเป็น 57,000-400 ขณะที่ Span 20Ò ไม่สามารถก่อให้เกิดไมโครอิมัลชันในทุกระบบ และเมื่อบรรจุสารสกัดผักเสี้ยนในระบบพบว่าระบบของน้ำมันเมล็ดฝ้าย:น้ำ:Tween 80Ò10:10:80 จะเกิดอนุภาคเล็กสุด (126.47 นาโนเมตร pdi±1) สรุปว่าน้ำมันที่สามารถใช้เพื่อบรรจุสารสกัดผักเสี้ยน ได้แก่ น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย และ MCT โดยสารลดแรงตึงผิวที่เหมาะสมคือ Tween 80Ò โดยไมโครอิมัลชันจาก น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย และ MCT จะเกิดอิมัลชันชนิดน้ำมันในน้ำและน้ำในน้ำมัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามวิธีการเตรียมไมโครอิมัลชันเพื่อให้อนุภาคขนาดเล็กและลักษณะทางกายภาพอื่นยังคงต้องมีการศึกษาต่อไป

   
ปิดหน้าต่างนี้