บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การประยุกต์วิธีทางสถิติเพื่อสกัดและแยกบริสุทธิ์ diarylheptanoids สำหรับควบคุมคุณภาพว่านชักมดลูก
โดย : อรณิชา วุฒิโสภากร และศุภิสรา เพชรประภัสสร
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : บัญชา ยิ่งงาม, ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)
คำสำคัญ : ว่านชักมดลูก, ไดแอริลเฮปทานอยด์, การสกัดและแยกบริสุทธิ์, โมเลกุลลาร์ด็อกกิ้ง, การควบคุมคุณภาพ
   
ว่านชักมดลูกใช้เพื่อทดแทนฮอร์โมนในสตรีวัยทอง แต่ยังไม่มีการกำหนดสารบ่งชี้เคมีเพื่อควบคุมคุณภาพ วัตถุประสงค์= เพื่อประยุกต์วิธีทางสถิติสำหรับสกัด diarylheptanoids เพื่อใช้เป็นสารบ่งชี้เคมีในการควบคุมคุณภาพว่านชักมดลูก วัสดุและวิธีการทดลอง= สกัดพืชด้วยวิธี 23-factorial, 6-axial, 6-center central composite design เพื่อสร้างแบบจำลองและทำนายสภาวะที่เหมาะสมเปรียบเทียบกับวิธีดั้งเดิม นำมาแยกบริสุทธิ์และระบุชนิดโดย spectroscopy ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อใช้เป็นสารบ่งชี้เคมีโดยใช้ปริมาณสาร ความชอบจับ ER-a, ER-bด้วยโมเลกุลลาร์ด็อกกิ้งและรายงานฤทธิ์ไฟโตเอสโตรเจน จากนั้นนำสารบริสุทธิ์ไปใช้ควบคุมมาตรฐานว่านชักมดลูกและยาจากสมุนไพร ผลการศึกษา= สภาวะที่เหมาะสม คือ ความถี่คลื่นเสียง 45 kHz อัตราส่วนสมุนไพรต่อ ethyl acetate 1=32 g/mL, อุณหภูมิ 65°C เป็นเวลา 16 นาที เมื่อนำมาแยกบริสุทธิ์ด้วยโครมาโทกราฟีจะได้DA1,DA2และ DA3 การศึกษาการเข้าจับกับ ER-aและ ER-bพบว่า สารทั้ง 3 ชนิดเข้าจับกับ binding pocket ของโปรตีนตัวรับได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับโครงสร้าง ligands อ้างอิง โดย heptyl chain เป็นส่วนที่ทำให้เข้าไปอยู่ใน binding pocket ได้ เมื่อนำสารทั้ง 3 ชนิดมาใช้เป็นสารบ่งชี้เคมีด้วยวิธี HPLCพบว่าถูกต้องตาม ICH guidelines และสามารถใช้วิเคราะห์ปริมาณ DA1, DA2 และ DA3 จากวัตถุดิบว่านชักมดลูกและยาแคปซูลได้ สรุป= เมื่อพิจารณาด้านปริมาณสารที่เป็นองค์ประกอบหลัก การเข้าจับในโพรงจับของ ER-aและ-β และรายงานฤทธิ์estrogen activity งานวิจัยนี้จึงเสนอว่า การควบคุมมาตรฐานว่านชักมดลูกใช้เป็นสมุนไพรกลุ่มสามารถใช้วิธีข้างต้นเพื่อแยกบริสุทธิ์สาร DA1, DA2 และ DA3 เป็นสารบ่งชี้ทางเคมีได้
   
ปิดหน้าต่างนี้