บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของบัวสายและบัวหลวงชนิดต่างๆ
โดย : รัชนี งามวิลัย และ ลักษมี นาดี
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.ดร. กุสุมา จิตแสง
คำสำคัญ : ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม, ปริมาณสารประกอบฟีโนลิกรวม, บัวสายและบัวหลวง
   
บัวสาย (Nymphaeaceae) และบัวหลวง (Nelumbonaceae) เป็นพืชน้ำพื้นเมืองของไทยที่มีการนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย ซึ่งมีทั้งการใช้ในทางการแพทย์พื้นบ้านและบริโภคเป็นอาหารจึงมีความสนใจในการทำการวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์=เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของบัวสาย (Nymphaea sp.) 3 พันธุ์ และบัวหลวง (Nelumbo nuciferae G.) 3 พันธุ์ วิธีการดำเนินการวิจัย=นำสารสกัดเมทานอลของส่วนต่างๆ ของบัวสายและบัวหลวงมาวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีโนลิกรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH scavenging assay และ ABTS scavenging assay ผลการวิจัย= ปริมาณสารประกอบฟีโนลิกรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของตัวอย่างพืชพบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 8.80±1.17 ถึง 143.30±4.53 mg GAE/g dry weight และ 1.00±0.04 ถึง 11.35±0.42 mg QE/g dry weight ตามลำดับ ในส่วนของฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS scavenging assay พบว่ามีค่าอยู่ในช่วง 19.84 ±0.48 ถึง 467.75±1.91 mg TEAC/g dry weight และ 14.9±3.54 ถึง 382.2±32.25 mg TEAC/g dry weight สรุปผลการวิจัย= จากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากส่วนต่างๆบัวหลวงและบัวสาย พบว่ากลีบดอกบัวสายแดง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด และ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่ามีความสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบฟีโนลิก งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจากบัวสายและบัวหลวงได้
   
ปิดหน้าต่างนี้