บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ศึกษาปัจจัยและองค์ประกอบของเจลก่อตัวเองโดยมีพอลิเมอร์PLGA เป็นสารก่อเจลหลัก
โดย : พิชามญชุ์ ญาณศุภวงศ์ และ วริศรา ทิพย์คูนอก
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.อุษณา พัวเพิ่มพูลศิริ
คำสำคัญ : เจลก่อตัวเอง พอลิ(แล็กติกแอซิด-โค-ไกลโคลิกแอซิด)
   
เจลก่อตัวเองถูกพัฒนาเป็นระบบนำส่งยาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเจ็บปวดจากการใช้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับเจลก่อตัวเองสำหรับใช้ในช่องเหงือก ที่เตรียมจาก poly(lactic acid-co-glycolic acid) (PLGA) ในตัวทำละลายอินทรีย์ N-methyl pyrrolidone (NMP) ด้วยวิธีการแลกเปลี่ยนสารละลาย โดยศึกษาหาสัดส่วนที่เหมาะสมของ PLGA และตัวทำละลาย ในอัตราส่วน 1=2, 1=3, 1=4, 1=5, 1=10 และ 1=15 และศึกษาผลของสารช่วย ได้แก่ polyvinylpyrrolidone (PVP), Poloxamer 407® และ Poloxamer 188® และเปรียบเทียบผลของคุณสมบัติทางกายภาพ ความหนืด การก่อเจล การฉีดผ่านเข็มฉีดยา และการสูญเสียพอลิเมอร์ ผลการวิจัย= จากผลการก่อเจล (in situ gel forming) และ ความหนืด (viscosity) ของ PLGA ต่อ NMP พบว่า อัตราส่วน 1=3 1=4 และ 1=5 สามารถก่อเจลและขึ้นรูปดี (เวลาน้อยกว่า 1 นาที) แต่มีความหนืดสูง (11.8033 ± 1.857 Pa.s, 2.5760 ± 0.385 Pa.s และ 0.9553 ± 0.076 Pa.s ตามลำดับ) เมื่อเพิ่มสารช่วยในตำรับ พบว่า ความหนืดลดลง ฉีดผ่านเข็มฉีดยาดีขึ้น และมีการสูญเสียพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับจำนวนรูพรุนภายในโครงสร้าง จาก SEM พบว่าเมื่อเติมสารช่วยในตำรับจะพบลักษณะรูพรุนเกิดขึ้นภายในโครงสร้าง โดยรูพรุนที่เกิดจากการเติม poloxamer มีขนาดสม่ำเสมอและมีผนังบางพื้นผิวเรียบมีรูพรุน ขณะที่สารช่วย PVP จะทำให้เกิดพื้นผิวเรียบมีลักษณะคล้ายเส้นใยและรูพรุนภายมีขนาดไม่สม่ำเสมอผนังหนา นอกจากนี้ที่อัตราส่วน 1=3 ของ PLGA/PVP= NMP พบการสูญเสียของพอลิเมอร์เพิ่มขึ้นในสัปดาห์แรกจากนั้นเริ่มคงที่ในสัปดาห์ที่ 2-4 (ร้อยละ 14.37, 19.83, 18.46 และ 19.18 ตามลำดับ) จึงสามารถทำนายได้ว่าวัสดุที่เตรียมจาก PLGA/PVP น่าจะทำให้เกิด การปลดปล่อยยาอย่างช้าๆและคงที่ในสัปดาห์ที่ 2 สรุปผลการวิจัย= สารช่วยกลุ่ม poloxamer หรือ PVP มีความจำเป็นสำหรับการเตรียมเจลก่อตัวเองโดยวิธีแลกเปลี่ยนตัวทำละลายเพื่อช่วยให้วัสดุมีคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับใช้ในช่องเหงือก
   
ปิดหน้าต่างนี้