บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปลาไหลเผือกน้อยเพื่อการขยายพันธุ์ และการผลิตสารทุติยภูมิ
โดย : ดารารัตน์ โป้สมบูรณ์ และศศิธร บูรณะพล
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ จึงวัฒนตระกูล และ อ.ทรงพร จึงมั่นคง
คำสำคัญ : ปลาไหลเผือกน้อย, แคลลัส, ไธไดอะซูลอน
   
ผลของความเข้มข้นที่แตกต่างกันของฮอร์โมน Thidiazuron (TDZ) ต่อการงอกของยอดที่พัฒนามาจากการเพาะเลี้ยงแคลลัสในการเพาะเลี้ยงปลาไหลเผือกน้อย ( Eurycoma hamamdiana Pierre. ) ซึ่งเป็นการศึกษาใน in vitro โดยนำเมล็ดของต้นปลาไหลเผือกน้อยที่ปราศจากเชื้อมาเลี้ยงในอาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) โดยใช้ฮอร์โมน Thidiazuron (TDZ) 1 mg/L ร่วมกับ 1-Naphthaleneacetic acid (NAA) 1 mg/L จากนั้นจึงทำการศึกษาผลของฮอร์โมน TDZ ในอาหารสูตร MS ในการเพาะเลี้ยงแคลลัสของลำต้นและใบเลี้ยงเพื่อกระตุ้นให้เกิดยอดของปลาไหลเผือกน้อย ซึ่งพบว่าการใช้ฮอร์โมน TDZ 0.5 mg/L สามารถกระตุ้นให้เกิดยอดจากแคลลัสของลำต้นและแคลลัสของใบเลี้ยงได้สูงกว่าการใช้ TDZ 1 mg/L โดยการใช้ฮอร์โมน TDZ 0.5 mg/L สามารถกระตุ้นให้เกิดยอดจากแคลลัสของลำต้นและใบเลี้ยงได้ร้อยละ 92.86 และ 100 ตามลำดับ และพบว่าการใช้ฮอร์โมน TDZ 1 mg/L สามารถกระตุ้นให้เกิดยอดจากแคลลัสของลำต้นและใบเลี้ยงได้ร้อยละ 86.67 และ 0 ตามลำดับ ซึ่งการใช้ 0.5 mg/L TDZ สามารถกระตุ้นการเกิดยอดในแคลลัสจากลำต้นได้มากที่สุด โดยยอดที่เกิดจากฮอร์โมน TDZ 0.5 mg/L มีลักษณะยอดยาว มีขนาดใหญ่ และเห็นลักษณะเป็นยอดชัดเจนกว่ายอดที่เกิดจากฮอร์โมน TDZ 1 mg/L ดังนั้นสภาวะที่เหมาะสมในการกระตุ้นให้เกิดยอดคือ 0.5 mg/L TDZ ในอาหารสูตร MS
   
ปิดหน้าต่างนี้