บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของตำรับยาธาตุอบเชยโรงพยาบาลตระการพืชผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพ
โดย : ชนาธิป ขวัญคง และ ภัทรพงศ์ ศิริเสถียร
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.กุสุมา จิตแสง และรศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
คำสำคัญ : ยาธาตุอบเชย การควบคุมคุณภาพ ลายพิมพ์นิ้วมือทางเคมี
   
ยาธาตุอบเชยเป็นเภสัชตำรับโรงพยาบาลจากสมุนไพรที่มีการผลิตและสั่งจ่ายเป็นจำนวนมากในโรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ยาธาตุอบเชยเป็นยาที่ใช้ตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด แต่ยังไม่มีวิธีการควบคุมคุณภาพที่เป็นมาตรฐาน วัตถุประสงค์= เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี สร้างลายพิมพ์นิ้วมือทางเคมีของตำรับยาธาตุอบเชยและตรวจสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของยาธาตุอบเชย วิธีดำเนินการวิจัย= เตรียมยาธาตุอบเชยแบบ in house formulation สกัด และวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีด้วยวิธี TLC หาระบบของวัฎภาคเคลื่อนที่ที่เหมาะสมในการสร้างลายพิมพ์นิ้วมือทางเคมี รวมถึงการศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรคด้วยวิธี Disc Diffusion ผลการวิจัย= จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในยาธาตุอบเชย พบว่า eugenol, cinnamaldehyde, menthol และ glycyrrhizhic acid เป็นสารสำคัญในตำรับ และพบว่าต้องใช้วัฏภาคเคลื่อนที่ที่แยกสารสำคัญเป็น Hexane = Ethyl Acetate (9=1) ร่วมกับระบบ ethyl acetate = formic acid = glacial acetic acid = water (15=1=1=2) จึงได้ข้อมูลครบถ้วน และใช้ลายพิมพ์นิ้วมือจากระบบดังกล่าวในการตรวจสอบคุณภาพของตำรับยาธาตุอบเชย การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพก่อโรคพบว่าในสารสกัดยาธาตุอบเชยในเมทานอล (1 mg/disc) ไม่มีผลในการยับยั้งเชื้อจุลชีพก่อโรค สรุปผลการวิจัย= การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในตำรับยาธาตุอบเชยโดยวิธีการ TLC ที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถใช้สร้างเป็นลายพิมพ์นิ้วมือทางเคมีของยาธาตุอบเชย เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมคุณภาพเบื้องต้นของยาธาตุอบเชยโรงพยาบาลตระการพืชผลได้
   
ปิดหน้าต่างนี้