บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และศึกษาวิธีที่เหมาะสมเพื่อสกัดสารฟีนอลิกจากผลสมอไทยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงโดยวิธีออกแบบส่วนผสมกลาง
โดย : ปิยสิทธิ์ ดำพะธิก และ อัษฐพร สงทุ่ง
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : บัญชา ยิ่งงาม, ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)
คำสำคัญ : การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี, สมอไทย, สารประกอบฟีนอลิก, วิธี ตอบสนองพื้นผิว การสกัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
   
สมอไทยเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมนำมาพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาดั้งเดิม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับสกัดสารฟีนอลิกจากผลสมอไทยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง การศึกษาได้ประยุกต์วิธีออกแบบส่วนผสมกลาง (central composite design-based response surface methodology) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยกระบวนการ (ความเข้มข้นของ ethanol, อุณหภูมิสกัด, ระยะเวลาสกัด) ต่อปริมาณสารฟีนอลิก, gallic acid และ ellagic acid องค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดที่ได้จากสภาวะที่เหมาะสมนำมาระบุชนิดด้วยเทคนิค liquid chromatography-mass spectrometry ประสิทธิภาพของวิธีสกัดที่พัฒนาขึ้นนำมาเปรียบเทียบกับวิธีดั้งเดิม ผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่สุดเพื่อให้ได้ปริมาณสารที่ต้องการสูงสุดประกอบด้วย การใช้คลื่นเสียงความถี่ 45 kHz, อัตราส่วนของวัตถุดิบพืชต่อ 75% (v/v) ethanol เท่ากับ 1=10 g/mL, สกัดที่อุณหภูมิ 75 oC เป็นเวลา 60 นาที จะได้ปริมาณสารประกอบฟีนอลิก, gallic acid และ ellagic acid เท่ากับ 7.24± 0.41 mg GAE/g, 7.32±0.29 mg/g, and 73.61±2.90 mg/g ตามลำดับ ค่าที่ได้จากการทดลองสอดคล้องกับค่าที่ได้จากการทำนายด้วยสมการทางคณิตศาสตร์ (p>0.05) จากสารที่ระบุได้ 12 ชนิดพบว่า gallic acid และ ellagic acid เป็นสารออกฤทธิ์ชีวภาพที่ควรเลือกเป็นสารบ่งชี้เคมี (chemical marker) ของสารสกัด วิธีการสกัดที่พัฒนาขึ้นนี้ยังมีประสิทธิภาพในการสกัดสารที่เหนือกว่าวิธีดั้งเดิม ดังนั้น การศึกษานี้ได้นำเสนอวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสกัดสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากผลสมอไทย และสารสกัดที่ได้น่าจะเป็นแหล่งของสาร phenolics จากธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
   
ปิดหน้าต่างนี้