บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การประเมินความแม่นยำในการทำนายระดับยาวาลโปรเอท
โดย : นางสาวโชติกา ศุภโกศล และนางสาววัศยานันท์ คำเติม
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.ภญ. ทัดตา ศรีบุญเรือง , ผศ.ดร. สุวรรณา ภัทรเบญจพล และ ภญ. ชมภูนุช วีระวัธนชัย
คำสำคัญ : วาลโปรเอท; การทำนาย; ระดับยาในเลือด
   
การติดตามระดับวาลโปรเอทในโรงพยาบาล เป็นการประเมินประสิทธิภาพการรักษาและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์สามารถทำได้สองวิธี คือ การวัดระดับยาในเลือดโดยตรงหรือการทำนายระดับยาด้วยการคำนวณโดยอาศัยสมการและพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ ในปัจจุบันยังไม่เคยมีรายงานการประเมินความยอมรับได้ของความแตกต่างของทั้งสองวิธีการวัดในประชากรไทย วัตถุประสงค์= เพื่อประเมินความยอมรับได้ของความแตกต่างของสองวิธีการวัดระดับยาวาลโปรเอท วิธีดำเนินการวิจัย= การศึกษาเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 1 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2558 จากฐานข้อมูลโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โดยรวบรวมข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยได้แก่ เพศ อายุ ขนาดยา น้ำหนัก ความสูง ระดับยาวาลโปรเอทในเลือด ณ สภาวะคงตัวที่ได้จากการวัดและการคำนวณ จากนั้นวิเคราะห์ผล โดยการประเมินเกณฑ์การยอมรับได้ของความแตกต่างของการวัดสองวิธีโดยใช้สถิติ Bland-Altman plot ผลการวิจัย= กลุ่มตัวอย่างจำนวน 161 ราย เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.4 อายุเฉลี่ย 38.98 ± 12.44 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 61.68 ± 12.78 กิโลกรัม ขนาดยาวาล โปรเอทเฉลี่ย 802.17 ± 301.47 มิลลิกรัมต่อวัน พบกลุ่มตัวอย่างมีค่าการทำงานของตับและไตปกติ ร้อยละ 64.6 ของค่าระดับยาวาลโปรเอทในเลือดพบอยู่ในช่วงการรักษา (50-100 มิลลิกรัมต่อลิตร) ผลการประเมินความแตกต่างของการวัดและทำนายระดับยาวาลโปรเอทในเลือดพบอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ ณ ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ของความแตกต่าง (Mean difference ± 1.96 SD = 4.56 ± 1.96 (22.31)) สรุปผลการวิจัย= ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้การทำนายระดับยาวาลโปรเอทในเลือดโดยใช้สมการและพารามิเตอร์ทางเภสัชจลนศาสตร์ สามารถ ยอมรับได้ในสถานการณ์ที่มีข้อจำกัดที่จะวัดระดับยาโดยตรง
   
ปิดหน้าต่างนี้