บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ผลของสารสกัดหญ้าดอกขาวและสมุนไพรอีก5 ชนิดต่อการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ในไมโครโซมจากตับหนูในหลอดทดลอง
โดย : ปุญญาพร ยิบประดิษฐ์, ภัทรสุดา มีชำนาญ
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.สุทธาสินี สุวรรณกุล และผศ.ดร. เบญจภรณ์เศรษฐบุปผา
คำสำคัญ : อันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยา, ไซโตโครมพี 450, CYP3A4, ดอกพิกุล, ดอกงิ้ว, ใบไผ่, รากต้นอ้อ, ใบหนาด, หญ้าดอกขาว
   
อันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาอาจเกิดได้โดยผ่านเอนไซม์ไซโตโครมพี450 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารสกัดสมุนไพร6ชนิดต่อเอนไซม์ CYP3A4ที่มีในโครโมโซมจากตับหนูในหลอดทดลอง ศึกษาการเกิดเมตาบอลิสมโดยใช้testosteroneซึ่งจำเพาะต่อเอนไซม์ CYP3A4หาปริมาณ 6β-hydroxy-testosterone ซึ่งเป็นเมตาบอไลท์ที่เกิดขึ้นด้วย HPLC เปรียบเทียบระหว่างการใส่และไม่ใส่ส่วนสกัดสมุนไพร จากนั้นคำนวณเป็นร้อยละของการยับยั้งการทำงานของCYP3A4ผลการทดลองพบว่า ส่วนสกัดน้ำของสมุนไพรทั้ง 6 ชนิด ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์CYP3A4แตกต่างกันคือ ดอกพิกุล (Mimusopselengi L.) ร้อยละ 46.68, ดอกงิ้ว (Bombaxanceps Pierre.) ร้อยละ 51.32, ใบไผ่ (Bambusabambos) ร้อยละ 61.83,รากต้นอ้อ (Arundodonax) ร้อยละ 77.33, ใบหนาด (Blumeabalsamifera) ร้อยละ 58.55 และหญ้าดอกขาว (Vernoniacinerea) ร้อยละ 89.23 ผลของส่วนสกัดเมทานอลเป็นดังนี้ ดอกพิกุลร้อยละ 65.51, ดอกงิ้วร้อยละ 71.96, ใบไผ่ร้อยละ76.42, ใบหนาดร้อยละ 71.21และหญ้าดอกข้าวร้อยละ 80.25 และผลของส่วนสกัดเฮกเซนเป็นดังนี้ ดอกพิกุลร้อยละ 53.98, ดอกงิ้วร้อยละ 55.94, ใบไผ่ร้อยละ 58.83, รากต้นอ้อร้อยละ 85.72, ใบหนาดร้อยละ 13.77 และหญ้าดอกขาวร้อยละ 62.74 สรุปได้ว่าสมุนไพรทุกตัวดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ที่มีในตับหนูเมื่อทดสอบในหลอดทดลองด้วยระดับการยับยั้งที่แตกต่างกัน
   
ปิดหน้าต่างนี้