บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาแผ่นฟิล์มความพรุนสูงจากโพลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้งถั่วเขียว โดยใช้คลื่นไมโครเวฟและเทคนิคเย็นสลับร้อน
โดย : ณิชาลฎา แก้วกันหา และ กัญณรินทร์ พิริยานนท์
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.ดร. ชลลัดดา พิชญาจิตติพงษ์ และ ผศ.ดร.วริษฎา ศิลาอ่อน
คำสำคัญ : แผ่นฟิล์มความพรุนสูง โพลิไวนิลแอลกอฮอล์ แป้งถั่วเขียว คลื่นไมโครเวฟ เทคนิคเย็นสลับร้อน
   
การพัฒนาแผ่นฟิล์มความพรุนสูงจากโพลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้งถั่วเขียว โดยใช้คลื่นไมโครเวฟและเทคนิคเย็นสลับร้อน ณิชาลฎา แก้วกันหา และ กัญณรินทร์ พิริยานนท์ เภสัชศาสตรบัณฑิต เภสัชศาสตร์ อ.ดร. ชลลัดดา พิชญาจิตติพงษ์ และ ผศ.ดร.วริษฎา ศิลาอ่อน แผ่นฟิล์มความพรุนสูง โพลิไวนิลแอลกอฮอล์ แป้งถั่วเขียว คลื่นไมโครเวฟ เทคนิคเย็นสลับร้อน ไฮโดรเจลเป็นพอลิเมอร์ที่สามารถดูดซับน้ำไว้ภายในโครงสร้าง เตรียมจากพอลิเมอร์ ชนิดที่ชอบน้ำเช่นพอลิเมอร์ที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ หรือ พอลิเมอร์ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พอลิแซคคาไรด์ พอลิเมอร์ที่ได้จากการสังเคราะห์ทำให้คุณสมบัติของแผ่นฟิล์มมีความแข็งแรง แต่มีความสามารถในการดูดน้ำต่ำกว่าพอลิแซคคาไรด์ การนำ พอลิเมอร์สองชนิดมาผสมกันจะช่วยปรับปรุงคุณสมบัติของแผ่นฟิล์มให้ดีขึ้น แผ่นฟิล์มความพรุนสูงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลายด้าน เช่น วัสดุชีวภาพ วัตถุประสงค์= เพื่อพัฒนาแผ่นฟิล์มความพรุนสูงจากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้งถั่วเขียว โดยใช้คลื่นไมโครเวฟและเทคนิคเย็นสลับร้อน วิธีดำเนินการวิจัย= เตรียมไฮโดรเจลจากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์กับแป้งถั่วเขียว ในอัตราส่วน 19=1 ร่วมกับเติมสารที่ระเหิดได้เช่น camphor และammonium bicarbonate จากนั้นใช้คลื่นไมโครเวฟที่กำลังวัตต์ 450 วัตต์ นาน 10 นาที และเทคนิคเย็น (อุณหภูมิ -20 ºC นาน 24 ชั่วโมง) สลับร้อน (อุณหภูมิ 55 ºC นาน 24 ชั่วโมง) เพื่อให้ความร้อนแก่ไฮโดรเจลเพื่อให้แผ่นฟิล์มแห้งและเกิดรูพรุนขึ้นในแผ่นฟิล์ม ทดสอบสมบัติของไฮโดรเจลและแผ่นฟิล์ม เช่น ความหนืด ความหนา การพองตัวการละลาย และการเปลี่ยนแปลงหมู่ฟังค์ชั่นของส่วนประกอบโดยเทคนิค Fourier transform infrared (FTIR) ผลการวิจัย= พบว่าแผ่นฟิล์มจากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้งถั่วเขียวที่เติม camphor และ ammonium bicarbonate เมื่อใช้คลื่นไมโครเวฟและเทคนิคเย็นสลับร้อน มีความสามารถในการพองตัวในน้ำลดลง แต่มีความสามารถในการละลายดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้คลื่นไมโครเวฟ และทั้งสองกระบวนการไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหมู่ฟังค์ชันของส่วนประกอบในแผ่นฟิล์ม เมื่อทดสอบด้วยเทคนิค FTIR สรุปผลการวิจัย= จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแผ่นฟิล์มจากไฮโดรเจล ของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแป้งถั่วเขียวมีคุณสมบัติการละลายดีขึ้น สามารถนำไปพัฒนาเป็นแผ่นฟิล์มความพรุนสูงที่ละลายเร็วในช่องปากต่อไป
   
ปิดหน้าต่างนี้