บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากเชื้อราเอนโดไฟต์ที่แยกจากสมุนไพรติ้วขาว
โดย : วชิราภรณ์ สายบุบผา และจริณัฐ สุระพร
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.กุสุมา จิตแสง และผศ.ดร.ทวีศักดิ์ จึงวัฒนตระกูล
คำสำคัญ : Cratoxylumformosum subsp. formosum, ราเอนโดไฟต์, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ,ฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ
   
Cratoxylumformosumsubsp. formosum(Clusiaceae) ชื่อไทย “ติ้วขาว” เป็นสมุนไพรที่พบทั่วไปในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้ส่วนของลำต้นและใบ ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน, ลดการอักเสบ และขับปัสสาวะ จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพสารสกัดติ้วขาวและสารทุติยภูมิของติ้วขาว พบว่ามีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อจุลชีพวัตถุประสงค์:แยกและศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของราเอนโดไฟต์ที่แยกจากสมุนไพรติ้วขาววิธีการศึกษา :เก็บติ้วขาวจากบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี แยกราเอนโดไฟต์จากชิ้นส่วนพืชด้วยวิธีฆ่าเชื้อพื้นผิว นำเชื้อราจากชิ้นพืชมาเพาะเลี้ยงเพื่อการสร้างสารทุติยภูมิใน potato dextrose broth สารสกัดจากน้ำหมักเชื้อและเส้นใยที่สกัดด้วยเอตทิลอะซิเตตและเมทานอลตามลำดับทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS (2,2′-azino-bis-3-ethylbenzthiazoline-6-sulphonic acid) โดยฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแสดงในรูปความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระได้ร้อยละ 50 (the half maximal inhibitory concentration,IC50) ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพด้วยวิธี broth dilution method โดยฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพแสดงในรูปร้อยละการยับยั้ง (% inhibition) ผลการศึกษา :จากการศึกษาในครั้งนี้พบ เชื้อราเอนโดไฟต์ที่แสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและต้านเชื้อจุลชีพ มี 8 ไอโซเลต เชื้อ 3 ไอโซเลตที่แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดคือ Cff20, Cff17 และCff08 มีค่า IC50เป็น 13.7±4.5, 16.9±4.7 และ22.7±4.8 ไมโครกรัม/มล.ตามลำดับ เชื้อ 3 ไอโซเลตที่แสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ S. aureusสูงสุดคือ Cff12cell,Cff11cellและCff04แสดงค่า% inhibition เป็น90.064±2.0, 89.969±1.7และ74.702±8.4ตามลำดับ สรุปผล :การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อราเอนโดไฟต์ที่แยกได้จากติ้วขาว สามารถแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพได้เช่นเดียวกับพืชอาศัย ดังนั้นราเอนโดไฟต์จึงอาจเป็นแหล่งทรัพยากรทางเลือกที่สามารถทดแทนพืชติ้วขาวต่อไปในอนาคตได้
   
ปิดหน้าต่างนี้