บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ผลของสารสกัดดอกมะลิและสมุนไพรอีก 2ชนิดต่อการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ในไมโครโซมจากตับหนูในหลอดทดลอง
โดย : วิริยา ยศสุพรหม และชนิดา อัศพิมพ์
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.เบญจพรเศรษฐบุปผา และดร.สุทธาสินี สุวรรณกุลอาจารย์
คำสำคัญ : อันตรกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยา ไซโตโครมพี 450 CYP3A4 ดอกมะลิ ดอกบัวหลวงและดอกสารภี
   
ปัจจุบันพบว่ามีการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคเยอะขึ้น ทำให้เกิดอันตรกิริยากับยาได้โดยผ่านเอนไซม์ไซโตโครมพี450 วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของสารสกัดสมุนไพร 3 ชนิดต่อเอนไซม์ CYP3A4ที่มีในโครโมโซมจากตับหนูในหลอดทดลองวิธีดำเนินการวิจัย:ศึกษาการเกิดเมตาบอลิสมโดยใช้testosteroneซึ่งจำเพาะต่อเอนไซม์ CYP3A4หาปริมาณ 6β-hydroxy-testosterone ซึ่งเป็นเมตาบอไลท์ที่เกิดขึ้นด้วย HPLC เปรียบเทียบระหว่างการใส่และไม่ใส่ส่วนสกัดสมุนไพร จากนั้นคำนวณเป็นร้อยละของการยับยั้งการทำงานของCYP3A4ผลการวิจัย: จากการทดลองพบว่า ส่วนสกัดน้ำของสมุนไพรทั้ง 3ชนิด ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์CYP3A4แตกต่างกันคือ ดอกมะลิ (Jasminum Sambac (L.) Aiton.)ร้อยละ 37.80, ดอกบัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn.)ร้อยละ 32.00,ดอกสารภี (Mammea siamensis) ร้อยละ 25.70ผลของส่วนสกัดเมทานอลเป็นดังนี้ ดอกมะลิ (Jasminum Sambac (L.) Aiton.) ร้อยละ 21.91, ดอกบัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn.) ร้อยละ 15.67,ดอกสารภี (Mammea siamensis)ร้อยละ62.39และผลของส่วนสกัดเฮกเซนเป็นดังนี้ดอกมะลิ (Jasminum Sambac (L.) Aiton.) ร้อยละ 46.88, ดอกบัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn.) ร้อยละ 66.15และดอกสารภี (Mammea siamensis (Miq.) T.) ร้อยละ 63.90สรุปผลการวิจัย:สมุนไพร3 ตัวมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP3A4 ที่มีในตับหนูเมื่อทดสอบในหลอดทดลองด้วยระดับการยับยั้งที่แตกต่างกัน
   
ปิดหน้าต่างนี้