บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีน KIR2DS3และอุบัติการณ์การเกิดโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
โดย : ฉัตริยาภรณ์ หมวกไธสง และ พิภัสสร ลือขจร
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.สมหวัง จรรยาขันติกุล
คำสำคัญ : ไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง, ประชากรชาวไทย, KIR2DS3,PCR-SSP
   
โรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งของโลกและประเทศไทยปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการใช้ป้องกันการติดเชื้อ ข้อมูลองค์การอนามัยโลกปี 2014 พบผู้ป่วยทั่วโลกประมาณ 185ล้านคน และเสียชีวิตปีละ 350,000คน สำหรับประเทศไทย(ข้อมูลปี 2010)พบประมาณ150,000 คนซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดภาวะตับแข็งได้ (ร้อยละ 20-35)และ/หรือมะเร็งตับ (ร้อยละ 3-6)ทั้งนี้มีการศึกษาพบว่ายีน KIR2DS3มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษายืนยันความสัมพันธ์ดังกล่าวในประชากรชาวไทยวัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีนKIR2DS3และอุบัติการณ์การเกิดโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง วิธีดำเนินการวิจัย:ตัวอย่างเลือดจากผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจำนวน 100 คน และอาสาสมัครที่ตรวจไม่พบเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจำนวน 100 คน ถูกนำมาสกัด DNA ด้วยชุดสกัด DNA สำเร็จรูป (QIAamp DNA Blood mini kit) เพื่อตรวจสอบยีนKIR2DS3ด้วยเทคนิคPolymerase Chain Reaction-Sequence Specific Primer(PCR-SSP) จากนั้นนำข้อมูลการพบยีน KIR2DS3ในประชากรตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมาเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่างด้วยสถิติPearson’sChi-squaredTest ผลการวิจัย:พบยีน KIR2DS3ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง จำนวน 31 คน(คิดเป็นร้อยละ 31) และในกลุ่มอาสาสมัครที่ตรวจไม่พบเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจำนวน 22 คน(คิดเป็นร้อยละ 22) ตามลำดับแต่ไม่พบความแตกต่างของการมียีน KIR2DS3ในประชากรทั้งสองกลุ่ม (P-value = 0.149)สรุปผล:ยีน KIR2DS3ไม่สัมพันธ์กับอุบัติการณ์การเกิดโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในประชากรชาวไทย
   
ปิดหน้าต่างนี้