บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาตำรับยาเม็ดแตกตัวในช่องปากเวอร์ราพามิล ไฮโดรคลอไรด์ โดยเทคนิคการระเหิดด้วยคลื่นไมโครเวฟ
โดย : ปิยะวรรณ เถาปฐม และ รติภรณ์ วงศ์จุมปู
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.วริษฎา ศิลาอ่อน , ดร.สุรีวัลย์ ดวงจิตต์ และผศ.ดร.วริษฎา ศิลาอ่อน
คำสำคัญ : เวอร์ราพามิล ไฮโดรคลอไรด์ ยาเม็ดแตกตัวในช่องปาก สารเพิ่มปริมาณ สารระเหิดได้ รังสีไมโครเวฟ
   
ยาเม็ดแตกตัวในช่องปากที่มีประสิทธิภาพดีจะสามารถแตกตัวได้ภายใน 30 วินาที แต่เม็ดยาที่ได้มีความพรุนสูงและเปราะง่าย จำเป็นต้องใช้บรรจุภัณฑ์แบบพิเศษและมีราคาแพง ดังนั้นจึงมีการศึกษามากมายในการพัฒนากระบวนการผลิตยาเม็ดแตกตัวในช่องปากเพื่อให้ได้เม็ดยาที่มีความแข็งเหมาะสมและกระบวนการผลิตที่ง่ายวัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของสารที่ระเหิดได้และสารเพิ่มปริมาณต่อคุณลักษณะของยาเม็ดแตกตัวในช่องปากเวอร์ราพามิล ไฮโดรคลอไรด์วิธีดำเนินการวิจัย:ยาเม็ดแตกตัวในช่องปากประกอบด้วยตัวยาเวอร์ราพามิลไฮโดรคลอไรด์ (40 มิลลิกรัม) สารเพิ่มความหวาน (10 มิลลิกรัม) สารดูดซับ (5 มิลลิกรัม) สารที่ระเหิดได้ เช่น แอมโมเนียม ไบคาร์บอเนต (10 มิลลิกรัม) และสารเพิ่มปริมาณ ได้แก่ Avicel PH 102 และแมนนิทอล ปรับน้ำหนักให้ครบ 260 มิลลิกรัมต่อเม็ด นำมาอัดเป็นเม็ดโดยวิธีตอกตรงด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิค แล้วเข้าตู้อบไมโครเวฟที่กำลัง 900 วัตต์ นาน 6.30 นาที จากนั้นทดสอบคุณสมบัติของความแข็ง ความกร่อน เวลาที่ใช้ในการแตกตัว ปริมาณตัวยาสำคัญและการละลายในหลอดทดลองผลการวิจัย:ยาเม็ดแตกตัวในช่องปากเวอร์ราพามิล ไฮโดรคลอไรด์ ที่ประกอบด้วยแอมโมเนียม ไบคาร์บอเนต และ Avicel PH 102 ร่วมกับแมนนิทอล ในสัดส่วน 1:1 เป็นสารที่ระเหิดได้และสารเพิ่มปริมาณ ตามลำดับ มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุด โดยมีความแข็งอยู่ในช่วง 6.083±0.67 กิโลกรัม มีความกร่อนต่ำ เวลาที่ใช้ในการแตกตัวเร็วที่สุดอยู่ในช่วง 6.4±1.9 นาที ปริมาณตัวยาสำคัญอยู่ในช่วงร้อยละ 90.0-110.0 และมีอัตราการละลายในหลอดทดลองสูงที่สุดสรุปผล:ความร้อนจากไมโครเวฟทำให้สารที่ระเหิดได้เกิดการระเหิด สร้างรูพรุนภายในเม็ดยา เม็ดยาจึงแตกตัวและละลายอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันความร้อนทำให้สารเพิ่มปริมาณซึ่งเป็นสารกลุ่มชูการ์แอลกอฮอล์เกิดการหลอมตัว ทำให้เม็ดยามีความแข็งเพิ่มขึ้น จึงทำให้ได้ยาเม็ดที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
   
ปิดหน้าต่างนี้