บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาสูตรตำรับเจลกักเก็บลิโพโซมสำหรับการนำส่งยาทางผิวหนัง
โดย : ภูวมินทร์ สุริยาอัมพร และ จันทร์ธิดา พรมประดิษฐ์
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.สุรีวัลย์ ดวงจิตต์ และรศ.ดร.วันดี รังสีวิจิตรประภา
คำสำคัญ : ลิโพโซม, เทอร์ปีน, เคอร์คูมิน, คาร์โบพอล940, ระบบนำส่งยาทางผิวหนัง
   
ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมาลิโปโซมเป็นหนึ่งในระบบนำส่งยาใหม่ที่ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความคงตัวและสูตรตำรับที่เหมาะสมในการนำส่งลิโพโซมทางผิวหนังซึ่งวิธีเพิ่มการซึมผ่านทางผิวหนังที่ได้รับความนิยมมากคือ การใช้สารช่วยในการซึมผ่านซึ่งเทอร์ปีนเป็นหนึ่งในสารช่วยในการซึมผ่านที่ไม่ระคายเคืองและไม่เป็นพิษแต่อย่างไรก็ตามในการศึกษาและพัฒนาสูตรตำรับทางเภสัชกรรมก็ยังคงต้องคำนึงถึงด้านประสิทธิภาพ, ความปลอดภัยและ ความคงตัวของตำรับ วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ เพื่อศึกษาและพัฒนาสูตรตำรับเจลกักเก็บลิโพโซมสำหรับการนำส่งยาทางผิวหนังซึ่งประกอบด้วยชนิดของเทอร์ปีนที่แตกต่างกัน และประเมินความคงตัวทางเคมีกายภาพในแต่ละสูตรตำรับวิธีดำเนินการวิจัย: เตรียมเคอร์คูมินลิโพโซมใช้วิธีโซนิเคชันโดยมีการควบคุมปริมาณของฟอสโฟลิพิด, โคเลสเตอรอล, กรดโอเลอิกและเคอร์คูมินจากนั้นนำเคอร์คูมินลิโพโซมร้อยละ 2 และเทอร์ปีนร้อยละ 2 ใส่ลงใน0.5% เจลคาร์โบพอล940คนผสมกันโดยใช้แม่เหล็กกวนสารแล้วนำสูตรตำรับที่ได้มาตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมีกายภาพ, การซึมผ่านผิวหนัง และ ความคงตัวผลการวิจัย: ผลจากการวิจัยพบว่าคุณสมบัติทางกายภาพของสารละลายลิโพโซมมีลักษณะเหลืองใส เมื่อใส่ลงในตำรับเจลจะเกิดลักษณะเหลืองขุ่นขึ้นความสามารถในการซึมผ่านผิวหนัง (ฟลัคซ)ของเจลลิโมนีน(1.08ไมโครกรัม/ซม2/ชม) เหนือกว่าตำรับเจลเทอร์ปีนอื่นๆ (ไซมีน, เจอร์โรนิออล, อัลฟาเทอร์ปีนนีออล, เฟนโชน, เมนโทนและ เทอร์ปีน-4-ออล) และ ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง (0.75ไมโครกรัม/ซม2/ชม)อย่างมีนัยสำคัญ (p-value <0.05)เมื่อตรวจสอบความคงตัวทางด้านเคมีกายภาพ หลังจากสภาวะเร่งแล้วพบว่าของเจลกักเก็บเคอร์คูมินลิโพโซม เปลี่ยนแปลงจากลักษณะสีเหลืองใสไปเป็นสีใส ไม่มีกลิ่นส่วนเจลกักเก็บเคอร์คูมินลิโพโซมที่มีเทอร์ปีนผสมเปลี่ยนแปลงจากลักษณะสีเหลืองขุ่นไปเป็นสีขาวขุ่นหรือใส มีกลิ่นจางลง ในขณะที่ สูตรตำรับของเจลเนอร์โรลิดอล, เจลเจอร์โรนิออลและ ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพความเป็นกรดด่างและความสามารถในการกระจายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากpH6.4-6.5 เป็น6.1-6.2 และ0.076-0.083 เป็น0.065-0.074 กรัม•ซม•วินาที-1ตามลำดับ ส่วนปริมาณเคอร์คูมินที่เหลืออยู่ในเจลพบว่า เจลเจอร์โรนิออล(ร้อยละ 0.5) มีค่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์ตัวอย่างและสูตรตำรับอื่น อย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.05)สรุปผล:การพัฒนาเจลกักเก็บเคอร์คูมินลิโพโซมที่มีเทอร์ปีนผสมอยู่ สามารถช่วยเพิ่มการนำส่งเคอร์คูมินผ่านทางผิวหนัง ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความคงตัวทางเคมีกายภาพของสูตรตำรับเจลกักเก็บลิโพโซมคืออุณหภูมิและระยะเวลา
   
ปิดหน้าต่างนี้