บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาวิธีสกัดแยก สเปกโตรสโกปี เคมีคอมพิวเตอร์คำนวณของสารสกัดผลสมอไทยและสารเคมีบ่งชี้ต่อเอนไซม์ไทโรซิเนส
โดย : พิมพ์พรรณ ทองประมูล และ ธิปก ยิ้มยา
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.บัญชา ยิ่งงาม และดร.กุสุมา จิตแสง
คำสำคัญ : สมอไทย, พฤกษเคมี, การสกัดแยกด้วยคลื่นไมโครเวฟ, การออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน, ไทโรซิเนส, โมเลคิวลาร์
   
สารออกฤทธิ์จากสมุนไพรท้องถิ่นที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไทโรซิเนสเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับพัฒนาเป็นสารออกฤทธิ์ในเครื่องสำอางดูแลผิวและผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับรักษาโรคพาร์กินสัน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับสกัดแยกสารประกอบฟีนอลิกจากผลสมอไทย ฤทธิ์ชีวภาพ กลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดและอันตรกิริยาระหว่างสารเคมีบ่งชี้และไทโรซิเนสวิธีดำเนินการวิจัย:ออกแบบการทดลองแบบบอกซ์-เบห์นเคนเพื่อหาวิธีที่เหมาะสมเพื่อสกัดแยกสารฟีนอลิกจากผลสมอไทยด้วยคลื่นไมโครเวฟ โดยกำหนดตัวแปรต้น คือ อัตราส่วนระหว่างตัวทำละลายและวัตถุดิบพืช (X1), ความเข้มข้นของเอทานอล(X2), กำลังไมโครเวฟ (X3), ระยะเวลาในการสกัด (X4) ตัวแปรตามคือ ปริมาณ gallic acid, corilaginและ ellagic acid จากนั้นคัดเลือกสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแยกเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีดังกล่าวกับวิธีอื่นที่มีการรายงาน วิเคราะห์ปริมาณสารเคมีบ่งชี้ด้วยเทคนิค HPLC ระบุชนิดสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบในสารสกัดด้วยเทคนิค LC-ESI/MS ศึกษาฤทธิ์ยับยั้งไทโรซิเนส กลไกการออกฤทธิ์และทำนายการเข้าจับของสารเคมีบ่งชี้ต่อไทโรซิเนส2Y9X ด้วยเทคนิคโมเลคิวลาร์ด็อกกิ้งผลการวิจัย: การสกัดแยกสารฟีนอลิกจากผลสมอไทยที่สภาวะ X1, X2, X3และ X4เท่ากับ 1:10 g/mL, 43.50 %v/v, 800 Wและ 3.9 นาที ตามลำดับ ให้ปริมาณสารเคมีบ่งชี้สูงสุดสารสกัดที่ผลิตได้มีปริมาณสารเคมีบ่งชี้gallic acid, corillaginและ ellagic acid เท่ากับ3.97±0.964.47±0.79และ6.13±0.73 mg/g มีองค์ประกอบเป็นสารฟีนอลิก2 ชนิด คือ gallic acid และ ellagic acid และอีก 10 ชนิดเป็น hydrolysable tannins สารสกัดสมอไทยและสารเคมีบ่งชี้ gallic acid มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสด้วยกลไกแบบไม่แข่งขัน (non-competitive inhibition) ขณะที่ ellagic acid ออกฤทธิ์คล้าย kojic acid คือ mixed competition ทั้ง gallic acid และ ellagic acid เข้าจับที่ตำแหน่งเป้าหมายของไทโรซิเนสแตกต่างกันและเกิดอันตรกริยากับกรดอะมิโนด้วยพันธะไฮโดรเจนและแรง van der Waalsสรุป:การสกัดแยกสารประกอบฟีนอลิกจากผลสมอไทยด้วยคลื่นไมโครเวฟเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสารสกัดสามารถยับยั้งไซม์ไทโรซิเนสได้
   
ปิดหน้าต่างนี้