บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาวิธีวิเคราะห์คุณภาพตำรับยาธาตุอบเชย
โดย : ชนาภัทร อัตปัญญา และ สุทธินี ศิลาไสล
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.กุสุมา จิตแสง , อ.ทรงพร จึงมั่นคง และรศ.ดร. ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
คำสำคัญ : ตำรับยาธาตุอบเชย, สารบ่งชี้ทางเคมี, HPLC
   
ยาธาตุอบเชยเป็นตำรับยาสมุนไพรของไทยที่มีใช้ภายในโรงพยาบาล เพื่อรักษาอาการไม่สบายท้อง แต่ยังไม่มีการศึกษามาตรฐานการควบคุมคุณภาพตำรับและความคงตัวของยา วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาสารบ่งชี้ทางเคมีของตำรับยาธาตุ หาวิธีวิเคราะห์ปริมาณสารบ่งชี้ที่อยู่ในตำรับยาธาตุโดยใช้ HPLC-UV อีกทั้งยังหาความคงตัวของสารบ่งชี้ทางเคมีในตำรับยาธาตุอบเชย และยังตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย :พัฒนาวิธี HPLC-UV เพื่อใช้วิเคราะห์หาชนิดและปริมาณสารบ่งชี้ทางเคมีในตำรับยาธาตุอบเชยและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีทดสอบ ซึ่งประกอบไปด้วย ความจำเพาะเจาะจง (Selectivity) ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง (Linearity), ความความแม่นยำ (Precision), และความถูกต้อง (Accuracy) ผลการวิจัย :วิเคราะห์หาชนิดของสารบ่งชี้ทางเคมี ได้แก่ gallic acid, ellagic acid, cinnamic acid, glycyrrhizin, cinnamaldehydeและ eugenolใน HPLC chromatogram ของตัวอย่างยาธาตุได้โดยเปรียบเทียบกับสารมาตรฐานกราฟของสารมาตรฐานแสดงความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่ดีในช่วงวิเคราะห์ (r2>0.9909) ขีดจำกัดในการตรวจพบ (Limit of detection, LOD) และขีดจำกัดในการวิเคราะห์(Limit of quantification, LOQ) อยู่ในช่วง 0.59µg/ml ถึง 2.32µg/ml และช่วง 1.78 µg/ml ถึง 27.23 µg/ml ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD)ของการวิเคราะห์ระหว่างวัน (intra-day) น้อยกว่า 3.00 และร้อยละของการกลับคืน (% recovery) อยู่ในช่วง 24.87 ถึง 90.84% สามารถนำวิธีที่พัฒนาขึ้นวิเคราะห์หาปริมาณสารบ่งชี้ในตัวอย่างยาธาตุจากโรงพยาบาลตระการพืชผลและจากตัวอย่างที่เตรียมขึ้นเองในห้องปฏิบัติการ และหลังจากผ่านไป 3เดือนพบว่าปริมาณสารบ่งชี้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ (p-valuve<0.05) สรุปผล:วิธีวิเคราะห์ด้วย HPLV-UV ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ตรวจสอบชนิดและปริมาณสารบ่งชี้หลายชนิดในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีวิเคราะห์นี้สามารถใช้ในการควบคุมคุณภาพของตำรับยาธาตุทั่วไปได้
   
ปิดหน้าต่างนี้