บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การจัดทำฐานข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในตำรายาอีสาน ส่วนที่ 4
โดย : ณัฐวดี ศรีสวัสดิ์ และ รินรดา โชคพระสมบัติ
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ จึงวัฒนตระกูล และดร.กุสุมา จิตแสง
คำสำคัญ : ฐานข้อมูลสมุนไพรตำรายาโบราณอีสานตำรายาอีสาน
   
การแพทย์พื้นบ้านภาคอีสานมีเอกลักษณ์ที่ใช้สมุนไพรในท้องถิ่น สะท้อนถึงโรคที่พบบ่อยในท้องถิ่นโดยมีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยภาษาพื้นบ้านซึ่งยากแก่การเข้าใจและการนำไปต่อยอดองค์ความรู้วัตถุประสงค์: เพื่อรวบรวมจัดระเบียบและสังเคราะห์ข้อมูลสมุนไพร จากตำรายาโบราณอีสานที่รวบรวมโดย ดร.ปรีชา พิณทอง ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย วิธีดำเนินการวิจัย:ศึกษารวบรวมค้นคว้าข้อมูลสมุนไพรในตำรายาอีสานที่ใช้รักษา 20กลุ่มโรค จัดระเบียบและแสดงข้อมูลสมุนไพรได้แก่ ชื่อไทย ชื่อภาษาอังกฤษชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ สรรพคุณในตำรายาและเก็บตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงผลการวิจัย:จากตำรับยารักษา 20 กลุ่มโรค ประกอบด้วยตำรับย่อย1,315ตำรับพบการใช้สมุนไพรทั้งหมด951ชนิด พืชสมุนไพรที่มีความถี่การใช้สูงสุดในตำรับสัตว์มีพิษ ขบ กัด ตอด ปัก แทงคือ ตูมกา;โรคมะเฮ็งคือ ยาหัว; โรคบุรุษ คือ ยาหัว; โรคไอคือ ขิง; โรคเกี่ยวกับของเบื่อเมาคือ ยานาง; โรคขี้ทูดคือ ไผ่บ้าน; โรคเกี่ยวกับลมคือ พริกไทย; โรคฮานคือ อ้อยดำ; โรคนิ่วคือ หมากฝ้าย; โรคพากคือดูกใส; โรคป้างคือขี้เหน; โรคผ้ำคือขมิ้นขึ้น; โรคหมาดขาวคือ ยาหัว; โรคกางคือแหน; โรคขี้โม้ ขี้หิด ขี้กลาก ขี้นาค ขี้เฮื้อนคือยาหัว; โรควัดคือป่าน; โรคเหน็บชา เส้น เอ็นคือยาหัว; โรคหมากโหกคือขิง; โรคล่องแก้วคือตาไก้และโรคไข้ คือ ยานางสรุปผล:การศึกษานี้รวบรวมจัดระเบียบและสังเคราะห์ข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในตำรายาโบราณอีสานทั้งหมด 951ชนิด เพื่อใช้ในการพัฒนาฐานข้อมูลพืชสมุนไพรอีสาน
   
ปิดหน้าต่างนี้