บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาวิธีการสกัดสารฟีนอลิกจากใบชะพลู
โดย : นิดา นครังสุ และ พรรษมน นันทปถวี
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.กุสุมา จิตแสง
คำสำคัญ : ชะพลู,Piper sarmentosumRoxb,ปริมาณฟีนอลิกรวม, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, การพัฒนาวิธีการสกัด
   
ชะพลู (Piper sarmentosumRoxb.) เป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่มีการนำมาใช้ประโยชน์มาก โดยเฉพาะในส่วนของใบชะพลูมีสารฟีนอลิกปริมาณสูงและมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลายดังนั้นสารสกัดใบชะพลูที่มีสารสำคัญในปริมาณที่สูงอาจสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการทำให้แห้งและชนิดตัวทำละลายต่อปริมาณสารฟีนอลิกในใบชะพลูชะพลู วิธีการวิจัย: นำใบชะพลูมาทำให้แห้งด้วย 3 วิธีได้แก่ การอบแห้ง (oven drying) การตากในที่ร่ม (air drying) และการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze drying) จากนั้นนำไปสกัดด้วยตัวทำละลายชนิดต่างๆที่มีน้ำและเอทานอลเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ น้ำ และ 30% 50% 70% และ 95% เอทานอลในน้ำสกัดโดยใช้อัตราส่วนผงพืช 1 กรัมต่อตัวทำละลาย 40 มิลลิลิตร วิเคราะห์ปริมาณฟินอลิกรวม ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม ทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดด้วยวิธี DPPH และวิธี ABTS ผลการวิจัย: วิธีการทำให้แห้งและชนิดของตัวทำละลายมีผลต่อปริมาณฟีนอลิกรวม ฟลาโวนอยด์รวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสารสกัด 70% เอทานอลจากใบชะพลูอบแห้งและตากในที่ร่มมีปริมาณฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี DPPH สารสกัด 70% เอทานอลจากใบชะพลูอบแห้งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดเมื่อทดสอบด้วยวิธี ABTS สารสกัด 50% เอทานอลจากใบชะพลูอบแห้ง และ 70% เอทานอลจากใบชะพลูตากในที่ร่มมีปริมาณสารฟลาโวนอยด์รวมสูงที่สุด สรุปผล: การวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบวิธีการทำให้แห้งและชนิดตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารฟีนอลิก ฟลาโวยนอยด์ และ สารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจากใบชะพลู
   
ปิดหน้าต่างนี้