บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การทบทวนการสั่งใช้ยา Aspirin ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานตามแนวทางการรักษา ณ โรงพยาบาลบุณฑริก
โดย : ธนาภรณ์ นาคสมบูรณ์ และวราลี ลิตา
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : อ.พีรวัฒน์ จินาทองไทย และผศ.ดร.แสวง วัชระธนกิจ
คำสำคัญ : แอสไพริน, โรคเบาหวาน, การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบปฐมภูมิ
   
โรคเบาหวานเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ โดยมียา Aspirinเป็นยาที่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อป้องกันผลต่างๆ ที่จะตามมา วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนถึงรูปแบบการสั่งใช้ยา Aspirin ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตามแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557 และเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการใช้ยา Aspirin ในด้านการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญจากยา วิธีดำเนินการวิจัย:การศึกษาเชิงพรรณนาโดยการเก็บข้อมูลย้อนหลัง(Retrospective data collection) ระหว่าง1 ตุลาคม 2557 ถึง 18 มีนาคม 2559 จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โรงพยาบาลบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ ICD 10(E10-11) เพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานที่ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือดคัดเลือกผู้ป่วยที่ได้รับยา Aspirin ด้วยรหัสยา 59,1205 และสืบค้นอาการเลือดออกในระบบทางเดินอาหารจากการค้นด้วยคำสำคัญและรหัส ICD10 (K92.2)ผลการวิจัย:พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน 1,820 คน เป็นผู้ป่วยที่มีคุณลักษณะเข้าเกณฑ์การใช้ยา Aspirin สำหรับ Primary preventionร้อยละ 59.34มีการใช้ยา Aspirin ร้อยละ28.70 แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ 48.71 เพศหญิง ร้อยละ 51.29 ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีคุณลักษณะเข้าเกณฑ์การใช้ยาAspirin ร้อยละ 40.66แต่มีการใช้ยา Aspirin ร้อยละ21.89แยกเป็นเพศชาย ร้อยละ11.11 เพศหญิง ร้อยละ 88.89ในด้านผลลัพธ์การรักษาไม่พบผู้ป่วยที่เกิด GI bleeding และพบผู้ป่วยที่ใช้ยา Aspirinขนาด 300 มก.ต่อวัน ร้อยละ 1.27Aspirinขนาด 81 มก.ต่อวัน ร้อยละ 98.37 สรุปผล :พบผู้ป่วยที่มีคุณลักษณะเข้าเกณฑ์การใช้ยา Aspirin แต่ไม่ได้รับยาในการรักษาและผู้ป่วยที่มีคุณลักษณะไม่เข้าเกณฑ์การใช้ยา Aspirin แต่ได้รับยาสูง ดังนั้นควรมีการส่งเสริมการใช้ Aspirin อย่างเหมาะสมตามแนวทางการรักษา
   
ปิดหน้าต่างนี้