บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ผลของโครงการนำร่องการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มด้านการจัดยาสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภท
โดย : ประภัสสร ชาภักดี และ วีรานันท์ สืบหล้า
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง และ ดวงสุดา วัฒนาไชย
คำสำคัญ : โรคจิตเภทการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม กลุ่มจัดยา
   
โรคจิตเภทเป็นโรคเรื้อรังทางจิตเวชที่พบบ่อย แม้ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากว่าร้อยละ 70 แต่ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่ตอบสนองนี้จะพบปัญหาความไม่ร่วมมือในการใช้ยาซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพและค่าใช้จ่ายในการรักษา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในการใช้ยาคือการไม่เข้าใจในฉลากและขาดทักษะในการจัดยารับประทานด้วยตนเอง จึงเป็นที่มาของโครงการนำร่องการศึกษานี้วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มด้านการจัดยาเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทเข้าใจฉลากยาและมีทักษะการจัดยาด้วยตนเองได้ วิธีการดำเนินการวิจัย:การศึกษามีรูปแบบกึ่งการทดลอง หนึ่งกลุ่มตัวอย่าง ทดสอบวัดก่อนและหลังคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเป้าหมาย คือผู้ป่วยโรคจิตเภทที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยจิตเวชหญิง 2โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง ในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 จำนวน 18 ราย ได้เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มด้านการจัดยาสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทโดยมีกิจกรรม 3ครั้ง ได้แก่ครั้งที่ 1 การประเมินทักษะและความเชื่อมั่นในการจัดยาก่อนเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มครั้งที่ 2 แก้ไขปัญหาที่พบจากการเข้าร่วมกลุ่มครั้งแรกและติดตามประเมินทักษะและความเชื่อมั่นในการจัดยาภายหลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มครั้งที่ 3 การติดตามทางโทรศัพท์ ภายหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล จากนั้นรวบรวม วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเปรียบเทียบนอนพาราเมตริกผลการวิจัย:ผลการประเมินทักษะในการจัดยาของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน พบค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการจัดยาก่อนและหลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม คือ 3.22 และ 4.54 คะแนนตามลำดับ และพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.007) นอกจากนี้ยังพบค่าเฉลี่ยระดับความมั่นใจก่อนและหลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม 3.11 และ 3.92 คะแนน ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีระดับความเชื่อมั่นแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.026) โดยระดับความเชื่อมั่นวัดโดยการให้ค่าคะแนนตั้งแต่ 0-5 (0 คือไม่มั่นใจ ถึง 5 คือมั่นใจมากที่สุด)สรุปผล:ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้าร่วมในโครงการนำร่องการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มด้านการจัดยาแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของทักษะและความมั่นใจของผู้ป่วยในการจัดยา การศึกษาในอนาคตควรพัฒนารายละเอียดการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มและศึกษาความร่วมมือในการรักษาด้วยยาในระยะยาวต่อไป
   
ปิดหน้าต่างนี้