บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง :

อันตรกิริยาระหว่างยาที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ: วิเคราะห์ใบสั่งยางานบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง

โดย :

พิพัฒน์ จันทะพิมพ์ 

สิทธิกร วิชัยรัมย์    

ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา :

พีระวัฒน์ จินาทองไทย 

แสวง  วัชระธนกิจ 

คำสำคัญ :

อันตรกิริยาระหว่างยา, งานบริการผู้ป่วยนอก, ผู้ป่วยสูงอายุ

   

บทนำ: ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ประเทศที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้ป่วยสูงอายุมีภาวะความเจ็บป่วยซึ่งจำเป็นต้องได้รับยารักษาแต่ละโรคที่แตกต่างกันไป ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับยาที่มีแนวโน้มการเกิดอันตรกิริยา และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ วัตถุประสงค์: ศึกษาอัตราการเกิดอันตรกิริยาที่มีแนวโน้มที่จะเกิดในผู้ป่วยสูงอายุจากใบสั่งยางานบริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง  วิธีการดำเนินงานวิจัย: การศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลคู่ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา (potential drug-drug interaction หรือ pDDI) จากใบสั่งยาผู้ป่วยนอกปี พ.ศ.2560-2561 โดยใช้จำแนกระดับความรุนแรงของ pDDI  ผลการศึกษาวิจัย: มีผู้ป่วยสูงอายุมารับบริการในช่วงระยะเวลาที่ศึกษาทั้งสิ้นรวม 130,017 ครั้ง ได้รับยาที่มีแนวโน้มการเกิดอันตรกิริยาร้อยละ 5.79 ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาได้รับยาเฉลี่ย 8.65 ± 0.08 รายการ และผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับยาตั้งแต่ 5 รายการยาขึ้นไปมีร้อยละ 49.05 อัตราการสั่งใช้ยาคู่ที่มีแนวโน้มการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาในระดับความรุนแรง Major พบ มากที่สุดจำนวน 32.9 ครั้ง ต่อ 1,000 ใบสั่งยา ระดับความรุนแรง Moderated และ Minor พบ 9.2 15.2 ครั้ง ต่อ 1,000 ใบสั่งยา ตามลำดับ โดยมีคู่ยาที่มีแนวโน้มเกิดอันตรกิริยาที่ได้รับมากที่สุดคือ Enalapril ร่วมกับ Amiloride + Hydrochlorothiazide รองลงมาคือ Calcium carbonate  ร่วมกับ Ferrous fumarate และ Simvastatin ร่วมกับ Gemfibrozil ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: พบคู่ยาที่มีแนวโน้มการเกิดอันตรกิริยาในผู้ป่วยสูงอายุ ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรง Major ที่อาจมีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อผู้ป่วยได้ จึงต้องให้ความสำคัญในการติดตามและปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย

   
ปิดหน้าต่างนี้