บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง :

ศึกษาปัจจัยเสี่ยงการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบในแต่ละประเภท

โดย :

ปาณิสรา หาญธรรม

วริศรา ทับทิมโกมลกุล1

ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา :

ณหทัย อุณาภาค

ฑิภาดา สามสีทอง 

คำสำคัญ :

การกลับเป็นซ้ำ, โรคหลอดเลือดสมองตีบ, ปัจจัยเสี่ยง

   

บทนำ: โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีการเสียชีวิตสูงในโรคไม่ติดต่อ แต่เนื่องจากการศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบแต่ละประเภทตามการแบ่งของ TOAST ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กลับมาเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบในแต่ละประเภท และเก็บข้อมูลแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ วิธีการดำเนินการวิจัย: การศึกษาแบบชนิดย้อนหลัง โดยแบ่งผู้ป่วยตามประเภท TOAST ออกเป็น large vessel atherosclerosis (LAA), small vessel atherosclerosis (SAO), cardiac embolism (CE) จากนั้นนำข้อมูลมาทดสอบทางสถิติโดยใช้การทดสอบ Chi-square ผลการศึกษาวิจัย: ในการศึกษานี้มีผู้ป่วยทั้งหมด 192 คน จำแนกประเภทเป็น LAA จำนวน 73 คน (ร้อยละ 38.02) CE จำนวน 16 คน (ร้อยละ 8.33) และ SAO จำนวน 103 คน (ร้อยละ 53.65) พบข้อมูลพื้นฐานของดัชนีมวลกาย โรคความดันโลหิต และไขมันในเลือดผิดปกติของทั้งสามกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่ม LAA และ SAO พบสัดส่วนโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และไขมันในเลือดผิดปกติมากกว่ากลุ่ม CE กลุ่ม CE พบอายุเฉลี่ยสูง (68.7 ปี) กว่ากลุ่มอื่น และมีสัดส่วนของผู้เป็นโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมาก (ร้อยละ 93.8) พบสัดส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในเป้าหมายของความดันโลหิตตัวบน ทั้งการเป็นหลอดเลือดสมองตีบครั้งก่อนและการกลับเป็นซ้ำแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับผู้ป่วยที่กลับมาเป็นซ้ำในกลุ่ม LAA และ SAO จะมีการเปลี่ยนเป็นชนิดยาต้านเกล็ดเลือดเป็นชนิดอื่น หรือการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด 2 ชนิดร่วมกัน (dual antiplatelet) หลังการกลับเป็นซ้ำเพิ่มมากขึ้น (p<0.01) สรุปผลการวิจัย: ปัจจัยด้านดัชนีมวลกาย โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติและหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วสัมพันธ์กับการเกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองตีบในแต่ละประเภทรวมถึงเมื่อเกิดการกลับเป็นซ้ำ ผู้ป่วยจะได้รับการเปลี่ยนยาต้านเกล็ดเลือดหรือเพิ่มการใช้ยาต้านเกล็ดเลือดเป็น 2 ชนิดร่วมกัน    

   
ปิดหน้าต่างนี้