บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง :

การวิเคราะห์รูปแบบและความน่าเชื่อถือของบทความสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศไทย

โดย :

จารุเนตร สิงห์เห

 พรปวีณ์ พงษ์ศรี

 

ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 6 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา :

ธนวดี ปรีเปรม 

คำสำคัญ :

บทความสุขภาพ, ออนไลน์, เกณฑ์การประเมินคุณภาพ, เครื่องมือประเมินคุณภาพ

   

บทนำ: การเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์เป็นวิธีที่นิยมเนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์เป็นสื่อที่ผู้อ่านเข้าถึงได้ง่ายและสามารถส่งต่อข้อมูลได้อย่างอิสระ อย่างไรก็ตาม บทความที่มีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อผู้อ่านได้ ดังนั้นการประเมินเนื้อหาของบทความจึงมีความจำเป็น ในปัจจุบัน การศึกษารูปแบบลักษณะและความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ยังมีจำกัด นอกจากนี้ยังขาดเครี่องมือที่เหมาะสมในการประเมินข้อมูลสุขภาพบนสื่อออนไลน์ การศึกษาชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินรูปแบบและความน่าเชื่อถือของบทความสุขภาพที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ (2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบ และความน่าเชื่อถือของบทความสุขภาพที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของประเทศไทย จำนวน 2 เว็บไซต์ วิธีการดำเนินการวิจัย: คัดเลือกบทความสุขภาพที่มีการเผยแพร่ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2561 จากเว็บไซต์ของประเทศไทย 2 แห่งที่ได้รับความนิยมในปี 2561 รวมทั้งสิ้น 263 บทความ และทำการวิเคราะห์ลักษณะและความน่าเชื่อถือของบทความสุขภาพจากการประเมิน 6 ด้าน (22 ประเด็น) โดยใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพที่พัฒนาขึ้นเองโดยนักวิจัย ผลการศึกษาวิจัย: บทความสุขภาพบนสื่อออนไลน์ของประเทศไทยส่วนใหญ่มีลักษณะและความน่าเชื่อถือโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีและปานกลาง (ร้อยละ 454.2549 และ 353.346 ตามลำดับ) มีบทความที่ควรปรับปรุงคิดเป็นร้อยละ 1113.341 และมีเพียงร้อยละ 78.98745 ที่อยู่ในระดับดีมาก ในการวิเคราะห์ความเป็นเหตุเป็นผลของการนำเสนอข้อมูลและความถูกต้องของเนื้อหา พบว่าบทความส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90.5349) มีเนื้อหาสอดคล้องกับที่ระบุในหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม บทความจำนวนมากมีเนื้อหาและคำแนะนำบางส่วนที่ไม่ถูกต้อง จาก 22 ประเด็นที่ใช้ในการประเมินบทความ พบว่ามี 8 ประเด็นที่บทความจำนวนมากไม่ผ่านการประเมิน ได้แก่ การสรุปเนื้อหา, การใช้รูปภาพ ตาราง หรือกราฟประกอบเพื่อเสริมความเข้าใจ, การอธิบายรูปภาพ ตาราง หรือกราฟ, การระบุผู้เขียนบทความ, ความน่าเชื่อถือของแหล่งอ้างอิงที่บทความใช้, การอธิบาย และแบ่งขั้นตอนของกระทำที่แนะนำให้ผู้อ่านไปปฏิบัติ, ความถูกต้องของเนื้อหา และความถูกต้องของคำแนะนำในการปฏิบัติตัว สรุปผลการวิจัย: บทความสุขภาพที่มีการเผยแพร่บนเว็บไซต์ของประเทศไทยอาจจะยังขาดการตรวจสอบในบางประเด็น และบทความส่วนใหญ่มีความถูกต้องเพียงบางส่วน อีกทั้งลักษณะบางอย่างยังสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นหากสื่อสังคมออนไลน์ใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพบทความที่ได้พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยนี้เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปรับปรุงบทความสุขภาพก่อนที่จะเผยแพร่บนเว็บไซต์

   
ปิดหน้าต่างนี้