บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาวิธีวิเคราะห์และการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในหอมแดงที่ผลิตในจังหวัด ศรีสะเกษ โดยใช้เทคนิคอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโตรโฟโตเมตรี
โดย : ปิญาภรณ์ ดีเสมอ เพ็ญพิชชา แก้วขวัญข้า ศิริพร วิชาชัย
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : ปรีชา บุญจูง ทรงพร จึงมั่นคง
คำสำคัญ : หอมแดง, วิธีวิเคราะห์, ปริมาณโลหะหนัก, อะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโตรโฟโตเมตรี
   
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีวิเคราะห์และวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนัก(Cd,Zn,Cu,Fe และ Pb)ในตัวอย่างหอมแดงโดยใช้เทคนิคอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโตรโฟโตเมตรี (Atomic absorption spectrophotometry, AAS) ทำให้ทราบปริมาณของโลหะหนักในตัวอย่างหอมแดง ระเบียบวิธีวิจัย= วิธีการวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในตัวอย่างหอมแดงโดยใช้เทคนิคอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโตรโฟโตเมตรี ถูกพัฒนาและทดสอบความน่าเชื่อของวิธีวิเคราะห์โดยการทดสอบAccuracy(% recovery 92.95-99.29%) ทดสอบ Linearity ( r2 > 0.996) ทดสอบ Intraprecision (% RSD 0.41-1.27%) และ Interday precision (%RSD of 0.16-1.57%) ซึ่งหอมแดงจากจังหวัดศรีษะเกษ ทั้ง 18 ตัวอย่างได้จากการสุ่ม เพื่อจะได้นำมาหาปริมาณโลหะหนักที่มีอยู่ในตัวอย่างหอมแดงต่อไป ผลการศึกษา= พบว่าตัวอย่างหอมแดงที่เตรียมโดยวิธีดรายแอชชิงเทคนิค (Dry ashing technique) ก่อนนำไปย่อยด้วยกรดไนตริก (nitric acid digestion) เป็นวิธีการเตรียมตัวอย่างหอมแดงที่เหมาะสมที่สุด จากผลการวิเคราะห์ในทุกตัวอย่าง ไม่พบ แคดเมียม(Cd)และตะกั่ว(Pb) ส่วนค่าเฉลี่ยของสังกะสี(Zn),ทองแดง(Cu)และเหล็ก(Fe) วิเคราะห์ได้ค่าดังนี้ 1.72-4.67,0.34-0.94 2.45-7.45 mg/kg ตามลำดับ สรุปผลการศึกษา= จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้วิธีดรายแอชชิงเทคนิค) Dry ashing techniqueร่วมกับการย่อยด้วยกรดไนตริก (nitric acid digestion)ในการเตรียมตัวอย่างพบว่าตัวอย่างที่เตรียมได้สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตเมตรีเพื่อหาปริมาณโลหะหนักในหอมแดงได้
   
ปิดหน้าต่างนี้