บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการกักเก็บน้ำมันรำข้าวในรูปแบบ Nano-structure liquid carrier (NLC)
โดย : รจเรขา วรรณศรี ศิรินันท์ พุทธลา สุนิดา คำหา
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : วันดี รังสีวิจิตรประภา ทรงพร จึงมั่นคง
คำสำคัญ : นาโนสตรัคเจอร์ลิปิดแคริเออร์, ร้อยละการกักเก็บ, น้ำมันรำข้าว
   
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อพัฒนาระบบนำส่งน้ำมันรำข้าวในรูปแบบของ nanostructure lipid carrier (NLC) เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง โดยศึกษาเปรียบเทียบสูตรตำรับของ NLC และ Niosome วิธีการเตรียม NLC ใช้วิธี hot melt homogenization โดยใช้ Compritol® ATO 888 และ Pluronic® F 68 นเป็ lipidic material และ non-ionic emulsifier ตามลำดับ ส่วนวิธีการเตรียม Niosome จะใช้วิธี Chloroform film method จากนั้นศึกษาคุณสมบัติความคงตัวของอนุภาคโดยการวัดขนาดอนุภาคและประจุไฟฟ้าที่ผิวอนุภาค รวมถึงวิเคราะห์ปริมาณการกักเก็บน้ำมันรำข้าวในสูตรตำรับของ NLC และ Niosome ด้วยวิธี indirect method โดยมี Gamma oryzanol เป็นตัวบ่งชี้ในการวิเคราะห์ด้วย high performance liquid chromatography เมื่อนำ NLC มาบรรจุในครีมแล้วทดสอบความคงตัวที่สภาวะเร่งด้วยวิธี Heating-cooling cycle พบว่ามีความคงตัวทางกายภาพที่ดี ทำให้คาดได้ว่าผลิตภัณฑ์นี้จะสามารถเก็บที่สภาวะปกติแล้วมีความคงตัว 2 ปี แล้วนำไปทดสอบความพึงพอใจในอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่าสูตรที่มีความคงตัวมากที่สุดคือ NLC (Compritol=RBO 4=6) ซึ่งมีขนาดอนุภาคและประจุไฟฟ้าที่ผิวอนุภาคอยู่ในช่วง 166 ถึง 353 นาโนเมตรและ -14 ถึง -31.5 มิลลิโวลต์ ตามลำดับและปริมาณการกักเก็บ γ-oryzanol 61.87% จากการทดสอบความพึงพอใจของอาสาสมัครจำนวน 30 คน โดยใช้แบบสอบถามพบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ดังนี้ ชอบมากที่สุด(60%), ชอบ(26.67%) และเฉยๆ(13.33%) จากผลการทดลองสรุปว่า NLC (Compritol=RBO 4=6) เป็นสูตรที่เหมาะสมในการเตรียมเป็นตำรับครีมให้อยู่ในรูปแบบระบบนำส่งแบบ NLC เพื่อพัฒนาเป็นเครื่องสำอางบำรุงผิวต่อไป
   
ปิดหน้าต่างนี้