บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : ฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดด้วยเอทานอลจากใบพลูต่อ Enterococcus faecalis ที่เจริญยึดเกาะกันเป็นกลุ่มบนเยื่อบาง
โดย : ทรงพล สิทธิการค้า อดุลย์ศักดิ์ เหลาแหลม วุฒิไกร วิลามาตย์
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : สุภารัตน์ คำแดง ใจนุช กาญจนภู นิภาพร เมืองจันทร์
คำสำคัญ : = สารสกัดจากใบพลูชั้นเอทานอล น้ำมันหอมระเหย ฤทธิ์ต้านจุลชีพ Enterococcus faecalis การเจริญยึดเกาะกันเป็นกลุ่มบนเยื่อบาง
   
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพของน้ำมันมันหอมระเหย และสารสกัดด้วยเอทานอลจากใบพลูต่อเชื้อ Enterococcus faecalis ที่เจริญแบบอิสระและเจริญยึดเกาะกันเป็นกลุ่มบนเยื่อบาง ผลการศึกษาฤทธิ์ต้าน Enterococcus faecalis ที่เจริญแบบอิสระของสารสกัดจากใบพลูด้วยเอทานอลเมื่อศึกษาด้วยวิธี agar disc diffusion และศึกษาด้วยวิธี agar well diffusion สำหรับน้ำมันหอมระเหยจากใบพลู โดยวัด clear zone ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ได้ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ (Minimum Inhibitory Concentration, MIC) เท่ากับ 6.25 mg/ml และ 25 % v/v ตามลำดับ ผลการศึกษาฤทธิ์ต้านจุลชีพที่เจริญยึดเกาะกันเป็นกลุ่มบนเยื่อบางของสารสกัดจากใบพลูด้วยเอทานอล พบว่าหลังจากบ่มเชื้อที่เจริญยึดเกาะกันบนเยื่อบางในสารสกัดความเข้มข้นต่างๆที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนับจำนวนโคโลนีของเชื้อ ความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (Minimum Bactericidal Concentration, MBC) เท่ากับ 50 mg/ml ระยะเวลาที่เหมาะสมของสารสกัดที่ความเข้มข้น 50 mg/ml ทีมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่เจริญเกาะกลุ่มบนเยื่อบางคือ 16 ชั่วโมง
   
ปิดหน้าต่างนี้