บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดข่าลิง
โดย : ภัทราภรณ์ โตวัฒนกิจ วชิรวิทย์ วงศ์ษารัฐ วนิดา ใจหมั่น
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : สุภารัตน์ คำแดง
คำสำคัญ : =ข่าลิง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณหมู่ฟีนอลรวม ความสามารถในการจับอนุมูลอิสระ ความสามารถในการให้อิเล็กตรอน
   
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดข่าลิงชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol โดยการหาปริมาณหมู่ฟีนอลรวม การทดสอบความสามารถในการจับกับสารอนุมูลอิสระ (radical scavenging power) ด้วยวิธี DPPH assay และ ABTS assay และการทดสอบความสามารถในการให้อิเล็กตรอน (reducing power) โดยวิธี FRAP assay และ FTC assay เปรียบเทียบกับ vitamin C และ trolox ผลการศึกษาพบว่าส่วนสกัดข่าลิงชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol มีปริมาณหมู่ฟีนอลรวมเท่ากับ 34.80±0.06, 120.44±0.01 และ 23.06±0.01 ug/mg ตามลำดับ การทดสอบความสามารถในการจับอนุมูลอิสระด้วย DPPH assay พบว่าค่า IC50 ของส่วนสกัดข่าลิงชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol เท่ากับ 54.48±6.89, 12.32±0.28 และ 71.64±2.46 ตามลำดับ และผลจาก ABTS assay พบว่าส่วนสกัดข่าลิงชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol มีค่า TEAC (Trolox Equivalent Antioxidative Capacity) เท่ากับ 2.87±0.88, 26.02±1.92 และ 7.75±1.06 ug/mg ตามลำดับ ความสามารถในการให้อิเล็กตรอนเมื่อทดสอบด้วย FRAP assay พบว่าส่วนสกัดข่าลิงชั้น hexane, ethyl acetate และ methanol มีค่า 184.90±24.68, 1,163.30 ±47.71 และ 302.24±11.11 ug Fe2+/mg ตามลำดับ การศึกษาฤทธิ์ในการต้านการเกิดเปอร์ออกซิเดชันของไขมันด้วยวิธี FTC assay พบว่าส่วนสกัดข่าลิงชั้น ethyl acetate มีค่าร้อยละของการยับยั้งการเกิดเปอร์ออกซิเดชันของไขมันสูงที่สุด รองลงมาคือส่วนสกัดข่าลิงชั้น hexane และ ส่วนสกัดข่าลิงชั้น methanol ตามลำดับ
   
ปิดหน้าต่างนี้