บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : เวลามาตรฐานและวิธีการคำนวณที่เหมาะสมเพื่อหาประมาณการำนวนบุคลากรและเภสัชกรสำหรับงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์
โดย : สมคิด คล้ายทอง สว่าง บุณยะนันท์
ชื่อปริญญา : เภสัชศาสตร์บัณฑิต 5 ปี
อาจารย์ที่ปรึกษา : สัมมนา มูลสาร
คำสำคัญ : การคำนวณอัตราการกำลัง เวลามาตรฐาน งานจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์
   
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบว่าวิธีการคำนวณและเวลามาตรฐานใดจะสามารถหาจำนวนบุคลากรทั้งหมดหรือเฉพาะจำนวนเภสัชกรได้ใกล้เคียงกับจำนวนที่มีอยู่จริงในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์ เวลามาตรฐานที่นำมาใช้ในการคำนวณได้จากการทบทวนวรรณกรรมจากโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลมหาสารคาม โรงพยาบาลศรีสะเกษ และโรงพยาบาลร้อยเอ็ด วิธีการคำนวณแต่ละวิธีจะมีการคิดเวลามาตรฐานที่แตกต่างกัน โดยวิธีที่ 1 ใช้เวลามาตรฐานรวมทุกขั้นตอน วิธีที่ 2 ใช้เวลามาตรฐานแต่ละงานย่อยทั้งหมด ซึ่งวิธีที่ 1 และ 2 ค่าที่ได้จะเป็นค่าของจำนวนบุคลากรทั้งหมดสำหรับงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก วิธีที่ 3 ใช้เวลามาตรฐานรวมเฉพาะขั้นตอนที่เภสัชกรเป็นผู้ปฏิบัติงาน วิธีที่ 4 ใช้เวลามาตรฐานแต่ละงานย่อยเฉพาะขั้นตอนที่เภสัชกรเป็นผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งวิธีที่ 3 และ 4 ค่าที่ได้จะเป็นค่าของจำนวนเภสัชกรเท่านั้นสำหรับงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก จำนวนบุคลากรทั้งหมดหรือจำนวนเภสัชกรที่คำนวณได้จากแต่ละวิธีจะนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนบุคลากรทั้งหมดหรือเภสัชกรที่มีอยู่จริงใน 4 โรงพยาบาลตัวอย่าง ผลการศึกษาการใช้เวลามาตรฐานโดยการปรับเวลาเผื่อเป็นร้อยละ 10, 15 และ 20 จากเวลาเฉลี่ยปกติพบว่าจำนวนบุคลากรและเภสัชกรที่คำนวณได้มีความใกล้เคียงกัน ดังนั้นผลการศึกษาจึงนำเสนอเฉพาะเวลามาตรฐานที่ปรับเวลาที่ร้อยละ 15 เท่านั้น ผลการคำนวณด้วย วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 วิธีที่ 3 และวิธีที่ 4 โดยใช้เวลามาตรฐานของโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่นพบว่าโรงพยาบาลศูนย์ที่ 1 อัตรากำลังที่ได้จากคำนวณจะน้อยกว่าจำนวนบุคลากรและเภสัชกรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 27.10, 25.60, 8.72 และ 8.32 คนตามลำดับ โรงพยาบาลศูนย์ที่ 2 มีอัตรากำลังที่ได้จากคำนวณน้อยกว่าจำนวนบุคคลากรและเภสัชกรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 27.45, 21.12, 3.89 และ 3.32 คน ตามลำดับ ผลการคำนวณด้วย วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 วิธีที่ 3 และวิธีที่ 4 โดยใช้เวลามาตรฐานของโรงพยาบาลมหาสารคามพบว่าโรงพยาบาลทั่วไปแห่งที่ 1 มีอัตรากำลังเภสัชกรที่ได้จากคำนวณน้อยกว่าจำนวนบุคคลากรและเภสัชกรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 15.49, 14.12, 5.82 และ 5.82 คน ตามลำดับ ส่วนโรงพยาบาลทั่วไปที่ 2 มีอัตรากำลังที่ได้จากคำนวณน้อยกว่าจำนวนบุคลากรและเภสัชกรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 11.28, 11.17, 5.28 และ 5.28 คน ตามลำดับ ผลการคำนวณด้วย วิธีที่ 1 วิธีที่ 2 วิธีที่ 3 และวิธีที่ 4 โดยใช้เวลามาตรฐานของโรงพยาบาลศรีสะเกษ พบว่าโรงพยาบาลทั่วไปแห่งที่ 1 มีอัตรากำลังที่ได้จากคำนวณน้อยกว่าจำนวนบุคลากรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 13.38 คน มากกว่าจำนวนบุคคลากรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 1.21 คน น้อยกว่าจำนวนเภสัชกรที่มีอยู่จริงเท่ากับ 5.43 คน และมากกว่าจำนวนเภสัชกรที่มีอยู่จริงเท่ากับ 1.83 คน ตามลำดับ โรงพยาบาลทั่วไปที่ 2 มีอัตรากำลังที่ได้จากคำนวณน้อยกว่าจำนวนบุคคลากรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 9.47 คน มากกว่าจำนวนบุคคลากรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 2.60 คน น้อยกว่าจำนวนเภสัชกรที่มีอยู่จริงเท่ากับ 4.94 และ มากกว่าจำนวนเภสัชกรที่มีอยู่จริงเท่ากับ 1.06 คน ตามลำดับ ผลการคำนวณด้วย วิธีที่ 1 โดยใช้เวลามาตรฐานของโรงพยาบาลร้อยเอ็ดพบว่าโรงพยาบาลทั่วไปแห่งที่ 1 มีอัตรากำลังที่ได้จากคำนวณน้อยกว่าจำนวนบุคคลากรทั้งหมดที่มีอยู่จริง 15.55 คน และโรงพยาบาลทั่วไปที่ 2 มีอัตรากำลังที่ได้จากคำนวณน้อยกว่าจำนวนบุคคลากรทั้งหมดที่มีอยู่จริง 11.13 คน โดยสรุปผลการศึกษาพบว่าการคำนวณหาจำนวนบุคลากรทั้งหมดวิธีที่ 1และวิธีที่ 2 จะให้ค่าใกล้เคียงกันและใช้ค่าเวลามาตรฐานของโรงพยาบาลศรีสะเกษจะให้จำนวนบุคลากรใกล้เคียงกับที่มีอยู่จริงมากที่สุด และวิธีที่ 4 ซึ่งใช้ค่าเวลาทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 9.47 คน มากกว่าจำนวนบุคคลากรทั้งหมดที่มีอยู่จริงเท่ากับ 2.60 คน น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาลศรีสะเกษจะให้ค่าใกล้เคียงกับจำนวนเภสัชกรที่มีอยู่จริงที่สุด ซึ่งอาจจะสามารถนำการวิธีคำนวณทั้ง 3 วิธีและเวลามาตรฐานของโรงพยาบาลศรีสะเกษไปใช้ในการคำนวณอัตรากำลังบุคลากรทั้งหมดหรือจำนวนเภสัชกรที่ควรจะมีในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทั่วไป/ศูนย์ได้
   
ปิดหน้าต่างนี้